การวางทรัพย์
การวางทรัพย์ คือ การชำระหนี้ที่กฏหมายกำหนดขึ้ นเมื่อการชำระหนี้มีอุปสรรคอั นเกิดจากตัวเจ้าหนี้โดยผู้ วางทรัพย์ได้นำเงินหรือทรัพย์ที่ เป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งผลของการวางทรัพย์ทำให้ลู กหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ผิดสัญญา ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน หรือเบี้ยปรับ และเจ้าหนี้จะร้องต่อศาลให้บั งคับชำระหนี้ไม่ได้ การไถ่ถอนการขายฝาก โดยการวางทรัพย์ทำให้ได้กรรมสิ ทธิ์กลับคืนมาสู่ผู้วางทรัพย์
เหตุที่จะมาขอวางทรัพย์มีดังนี้
1.เจ้าหนี้บอกปัดหรือปฎิเสธไม่ ยอมรับชำระหนี้โดยปราศจากมู ลเหตุอันอ้างตามกฏหมายได้ เข่น ผู้ให้เช่าได้ทำสัญญาเช่ามี กำหนด 30 ปี โดยได้จดทะเบียนถูกต้ องตามกฏหมายที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งมีผลพูกพันคู่สั ญญาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสั ญญา แต่ต่อมาผู้ให้เช่าอยากจะเลิกสั ญญาก่อนครบกำหนดที่ระบุไว้ในสั ญญา จึงปฏิเสธไม่ยอมรับค่าเช่าหรื อจะขอขึ้นเงินค่าเช่าโดยไม่มี เหตุอันจะอ้างได้ตามกฏหมาย เพื่อผู้ให้เช่าจะถือเอาเป็ นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่า
2.เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระได้ เช่น เจ้าหนี้ไปต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศ หรือหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ หรือต้องขังอยู่ในเรือนจำ
3.ลูกหนี้ไม่สารถหยั่งรู้สิทธิ ของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน เช่นลูกหนี้ไปทำสัญญาเช่ากับ นาง ก. ต่อมา นาง ก. ตาย ทายาท นาง ก. ต่างเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระค่ าเช่าให้แก่ตตน โดยอ้างว่าตนมีสิทธิในการรับเงิ นค่าเช่า ลูกหนี้จึงไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่ าจะต้องชำระหนี้กับใครระหว่ างทายาท
*ตามบทบัญญัติแห่ งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น มาตรา 492 การไถ่ถอนการขายฝากโดยนำเงินค่ าไถ่ถอนมาวางทรัพย์ และสละสิทธิถอนการวาง หรือมาตรา 232, 302, 631, 679, 754, 947 เป็นต้น
*ตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายอื่น เช่น การวางเงินทดแทนตามพระราชบัญญั ติเวนคืน พ.ศ. 2530
*ตามคำสั่งศาล เช่น การคุ้มครองชั่ วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิ จารณาความแพ่ง มาตรา 264
ผู้มีสิทธิวางทรัพย์ มีดังนี้
1.ลูกหนี้
2.ผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้
3.บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้ แทนลูกหนี้เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ ไม่เปิดช่องให้บุ คคลภายนอกชำระแทนได้ หรือขัดกับเจตนาที่คู่กรณี แสดงไว้และจะต้องไม่เป็นการฝื นใจหรือขัดใจลูกหนี้
สำนักงานวางทรัพย์(ที่รับวางทรั พย์)
-
ในส่วนกลาง สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุ
งเทพมหานคร1-6 -
ในส่วนกลาง สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ
ทรัพย์อะไรที่วางได้
1.เงินสด
2.แคชเชียร์เช็คของธนาคารในส่ วนกลาง (กทม.) สั่งจ่ายสำนักงานบังคับคดีแพ่ งกรุงเทพมหานคร1-6ในกรณีวางทรั พย์ในส่วนภูมิภาคให้สั่งจ่ ายในนามสำนักงานบังคับคดีจังหวั ดนั้นๆ
3.ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ และสามารถส่งมอบกันได้ตามกฏหมาย เช่น รถยนต์ ตู้เย็น สร้อยทอง แหวนเพชร
ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง
1.สภาพทรัพย์ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้ นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลายหรื อบุบสลายได้ เช่น น้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่างๆ เพื่อความสวยงามในงานสมรส
2.มีค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร
3.ตึกแถว โรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่องจักร หรือทรัพย์ที่ขนย้ายไม่สะดวก หรือน้ำมันหรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น
วิธีปฏิบัติและหน้าที่ของผู้ วางทรัพย์มีดังนี้
1.เขียนคำร้องขอวางทรัพย์ตามแบบ ว.1 หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นวางทรั พย์แทนต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4
2.แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ ราชการออกให้(มีรูปถ่าย)
3.กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรตามกฏหมายกำหนด พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรื อหลักฐานอื่นที่ราชการออกไห้ (มีรูปถ่าย) ทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รั บมอบอำนาจ
4.กรณีเป็นนิติบุคคลให้นำหนังสื อรับรองการจดทะเบียนรับรองไม่ เกิน 1เดือนมาแสดงด้วย
5.แนบแบบรับรองรายการทะเบี ยนราษฏร(ท.ร.14/1)หรือหนังสือรั บรองฐานะนิติบุคคลของเจ้าหนี้รั บรองไม่เกิน 1 เดือน
6.หลักฐานที่เกี่ยวข้องกั บการวางทรัพย์ในเรื่องนั้ นๆมาแสดง เช่น
-
ถ้าวางตามสัญญาประนื
ประนอมยอมความของศาล ให้มีคำพิพากษาตามยอมที่หน้าที่ ศาลรับรอง -
ถ้าวางตามสัญญาเช่าให้มีสั
ญญาเช่า พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าและรั บรองสำเนาถูกต้อง -
ถ้าวางตามสัญญาขายฝากให้มีสั
ญญาขายฝาก พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาชายฝากและรั บรองสำเนาถูกต้อง -
ถ้าวางตามสัญญาเช่าซื้อให้มีสั
ญญาเช่าซื้อ พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าซื้ อและรับรองสำเนาถูกต้อง -
ถ้าวางตามสัญญาจำนอง(ไถ่ถอน)ให้
มีสัญญาจำนอง พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาจำนองและรั บรองสำเนาถูกต้อง