การโอนมรดกโดยมีผู้จัดการมรดก
การโอนมรดก นอกจากจะดำเนินการได้ โดยทายาทขอรับตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ยังสามารถกระทำได้อีกวิธีหนึ่ง คือ การโอนมรดกโดยมีผู้จัดการมรดก ตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้จัดการมรดกตั้งขึ้นได้โดยวิ ธีใดบ้าง
มาตรา ๑๗๑๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า “ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้ งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินั ยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล”
มาตรา ๘๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า “ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนลงชื่ อ ผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิ ทธิในที่ดิน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยนำหนังสื อแสดงสิทธิในที่ดินนั้น และหลักฐานการเป็นผู้จั ดการมรดกมาแสดงต่อพนักงานเจ้ าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่ งศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนิ นการจดทะเบียนให้ตามคำขอ แต่ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกในกรณี อื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ สอบสวนและตรวจสอบหลักฐาน และให้นำความในมาตรา ๘๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อไม่มีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบี ยนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสื อแสดงสิทธิในที่ดินนั้นได้ แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่ องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดำเนินการไปตามคำพิพากษาหรื อคำสั่งศาลนั้น
ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกซึ่งได้ มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ ดินแล้วขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดิ นให้แก่ทายาท ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนิ นการจดทะเบียนให้ตามคำขอโดยไม่ ต้องประกาศตามมาตรา ๘๑
ในกรณีที่ทรัสตีของทรัสต์ซึ่ งได้ก่อตั้งขึ้นโดยชอบด้ วยกฎหมายไว้แล้วขอจดทะเบี ยนในฐานะเป็นทรัสตี เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สอบสวนพยานหลักฐานแล้ว ให้ดำเนินการจดทะเบียนได้”
พิจารณาจากมาตรา ๑๗๑๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา ๘๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ผู้จัดการมรดกนอกจากตั้งโดยพินั ยกรรมและคำสั่งศาลแล้ว น่าจะมี ผู้จัดการมรดกที่ตั้ง โดยอย่างอื่นอีก แต่เดิมก่อนที่ประมวลกฎหมายที่ ดินจะใช้บังคับ ได้มีกฎเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิ การ ที่ ๑๗ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๕๙ ว่าด้วย เรื่องแก้ทะเบียนชื่ อในโฉนดแผนที่โดยได้รับมรดก ข้อ ๑๐ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.๑๒๗ ผู้จัดการมรดกสามารถตั้งกั นเองแล้ว มาขอจดทะเบียนได้ แต่เมื่อพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ใช้บังคับแล้ว พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.๑๒๗ ถูกยกเลิกไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายอื่นที่ใช้อยู่ในขณะนี้ มิได้กำหนดให้ทายาทตั้งผู้จั ดการมรดกกันเองได้ ทั้งได้มีคำพิพากษาฎีกา ที่ ๑๑๒๙/๒๔๙๙ วินิจฉัยว่า ตามมาตรา ๑๗๑๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้จัดการมรดกจะมีได้แต่โดยพินั ยกรรมหรือศาลตั้งเท่านั้น ดังนั้น ผู้จัดการมรดกที่มาขอจดทะเบี ยนลงชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ ดินได้ในขณะนี้มีได้เฉพาะผู้จั ดการมรดกตามพินัยกรรมและ ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งเท่านั้ น
ผู้ที่เป็นผู้จัดการมรดกตามพินั ยกรรมหรือศาลตั้ง ส่วนมากจะเป็นบุคคลธรรมดา สำหรับนิติบุคคลนั้นก็ชอบที่ จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นิติ บุคคลเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่ างใด แต่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดกับวัตถุ ประสงค์ของนิติบุคคลนั้น ฎีกาที่ ๑๑๒๗/๒๕๒๔
ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม
ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมมี หลายคน ถ้าไม่มีข้อกำหนดไว้ในพินั ยกรรมเป็นอย่างอื่น หากผู้จัดการมรดกบางคนถึงแก่ กรรม ผู้จัดการมรดกที่เหลือชอบที่ จะจัดการต่อไปได้ เช่น มี นาย ก.และนาย ข. เป็นผู้จัดการมรดก ถ้าพินัยกรรมมิได้กำหนดว่า ถ้านาย ก. หรือนาย ข. คนหนึ่งคนใดถึงแก่กรรมไปจะต้ องตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จั ดการมรดกแทนเช่นนี้ ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ก็ สามารถจะจัดการต่อไปได้ ไม่ว่าจะได้มีการจดทะเบียนลงชื่ อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิ ทธิในที่ดินแล้วหรือไม่ก็ตาม (มาตรา ๑๗๑๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ )
ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม บางครั้งก็ไปขอให้ศาลตั้งอีก ถ้าศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จั ดการมรดกไปตามข้อกำหนดในพินั ยกรรม หากผู้จัดการมรดกบางคนถึงแก่ กรรมไป ผู้จัดการมรดกที่เหลือก็ชอบที่ จะจัดการต่อไปได้เช่นเดียวกับผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรมที่ศาลมิ ได้มีคำสั่งตั้ง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ตามพินั ยกรรมของเจ้ามรดกตั้งบุ คคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดก โดยมีข้อกำหนดในพินัยกรรมไว้ว่ าในการจัดการมรดกนั้นให้ผู้จั ดการมรดกจัดการร่วมกัน แม้ต่อมาจะได้มีคำสั่งศาลตั้งบุ คคลดังกล่าวเป็นผู้จั ดการมรดกตามพินัยกรรมหรือไม่ก็ ตาม อำนาจในการจัดการมรดกของผู้จั ดการมรดกจึงต้องเป็นไปตามพินั ยกรรม กล่าวคือต้องร่วมกันจัดการมรดก เมื่อผู้จัดการมรดกบางคนได้ถึ งแก่กรรมไปก่อนการจั ดการมรดกจะแล้วเสร็จ ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ย่ อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไป ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๔๐/๒๕๓๔ (ข้อ ๔๗ ของระเบียบกรมที่ดินว่าด้ วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกั บอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ มาโดยทางมรดก พ.ศ.๒๕๔๘)
ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม จะมีอำนาจจัดการทรัพย์นอกพินั ยกรรมได้หรือไม่ ก็ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดของพินั ยกรรมนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๔๐/๒๕๑๙ พินัยกรรมระบุว่า “ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมนี้แก่… ……………..และขอตั้งให้………………………… เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้ าตามพินัยกรรมนี้และให้มี อำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายทุ กประการ” ตามข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็ นการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินั ยกรรม ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจั ดการทรัพย์มรดกได้โดยทั่วไป แม้จะเป็นทรัพย์มรดกที่มิได้ ระบุไว้ในพินัยกรรม
ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล
การโอนมรดกโดยปกติแล้ว แม้ไม่มีผู้จัดการมรดกทายาทก็ ขอรับได้อยู่แล้วตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่การขอโอนมรดกในกรณีเช่นนี้ จะต้องมีการประกาศมรดก ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทบางคนจะรับไปทั้ งหมดโดยทายาทคนอื่นไม่รับ ก็จะต้องให้ทายาทที่ไม่ขอรับให้ คำยินยอม ซึ่งหากมีทายาทจำนวนมากก็ไม่ สะดวกที่จะนำทายาทมาให้คำยิ นยอมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี ทายาทที่เป็นผู้เยาว์ การยินยอมไม่รับมรดกจะต้องขออนุ ญาตศาล ดังนั้น ในกรณีที่เจ้ามรดกมี มรดกและทายาทเป็นจำนวนมาก หรือมีทายาทเป็นผู้เยาว์ ทายาทมักจะไปขอให้ศาลตั้งเป็นผู้ จัดการมรดก แล้วจึงมาขอจดทะเบียนลงชื่อผู้ จัดการมรดกและโอนมรดกให้แก่ ทายาท ตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกได้ โดยทั่วไป มิใช่จัดการได้เฉพาะทรัพย์ มรดกตามบัญชีที่ระบุไว้ต่ อศาลเท่านั้น เว้นแต่เจ้ามรดกจะได้ทำพินั ยกรรม และตั้งผู้อื่นเป็นผู้จั ดการมรดกไว้เป็นการเฉพาะ (ข้อ ๔๖ ของระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ มาโดยทางมรดก พ.ศ.๒๕๔๘)
ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลมี หลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรม ผู้จัดการมรดกที่เหลือไม่ อาจจะดำเนินการต่อไปโดยลำพังได้ จะต้องขอให้ศาลตั้งผู้จั ดการมรดกเพิ่ม หรือขอให้ศาลสั่งให้ผู้จั ดการมรดกที่เหลือจัดการมรดกต่ อไปได้ ทั้งนี้ เพราะผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ งโดยไม่มีพินัยกรรมศาลจะต้องพิ จารณาก่อนว่า มรดกแต่ละรายมีความจำเป็นจะต้ องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ และควรจะมีผู้จัดการมรดกกี่คน เมื่อผู้จัดการมรดกบางคนได้ถึ งแก่กรรมลง ก็ควรที่ศาลจะได้พิจารณาอีกครั้ งว่า ควรจะตั้งผู้จัดการมรดกแทนผู้ที่ ถึงแก่กรรมไป หรือควรให้ผู้จัดการมรดกที่เหลื ออยู่จัดการมรดกต่อไปได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๑/๒๕๑๔) ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งโดยไม่ มีพินัยกรรม จะนำมาตรา ๑๗๑๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ไม่ได้ ส่วนผู้จัดการมรดกบางคนไม่เต็ มใจจะจัดการมรดก ผู้จัดการมรดกที่เหลือจะจั ดการไปโดยลำพังโดยยังมิได้ขอให้ ศาลมีคำสั่งอนุญาตไม่ได้ (ข้อ ๕๑ (๔) ของระเบียบกรมที่ดินว่าด้ วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกั บอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ มาโดยทางมรดก พ.ศ.๒๕๔๘)
กรณีผู้จัดการมรดกได้ถึงแก่ กรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการมรดกโดยพิ นัยกรรมหรือโดย ศาลตั้ง เมื่อได้มีการจดทะเบียนลงชื่ อเป็นผู้จัดการมรดกในหนังสื อแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ต่อมา ผู้จัดการมรดกได้ถึงแก่ กรรมหมดทุกคน คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็ น สรุปได้ว่า การเป็น ผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัว เมื่อผู้จัดการมรดกได้ถึงแก่ กรรม ความเป็นผู้จัดการเป็นอันสิ้นสุ ดโดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลเพิ กถอนตามมาตรา ๑๗๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีก ทายาทขอให้เจ้าพนักงานที่ดิ นจดทะเบียนเลิกผู้จั ดการมรดกโดยถอนชื่อผู้จั ดการมรดกออกจากหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินได้ และเมื่อจดทะเบียนเลิกผู้จั ดการมรดกแล้ว ทายาทจะไปขอให้ศาลตั้งใหม่หรื อจะขอรับมรดกไปตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวล กฎหมายที่ดินก็ได้ (ข้อ ๕๐ ของระเบียบกรมที่ดินว่าด้ วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกั บอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ มาโดยทางมรดก พ.ศ.๒๕๔๘)
การขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดก
การจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกจะกระทำได้แต่เฉพาะทรั พย์มรดกที่เป็นที่ดินเท่านั้น และที่ดินนั้นจะต้องมีหนังสื อแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ผู้จัดการมรดกจะยื่นคำขอต่อพนั กงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดิ นตั้งอยู่ ตามมาตรา ๗๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือกรณีเป็นผู้จั ดการมรดกตามคำสั่งศาลจะยื่ นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ งานจดทะเบียนต่างพื้นที่ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครซึ่ งตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมที่ดิน หรือจะยื่นที่สำนักงานที่ดินแห่ งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้พนักงานเจ้ าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ดำเนิ นการจดทะเบียนให้ก็ได้
การขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกตามพินัยกรรม
ผู้ขอจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานการเป็ นผู้จัดการมรดก คือ พินัยกรรม และหลักฐานอื่น ๆ เช่น หลักฐานการตายของเจ้ามรดก ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดิ นตั้งอยู่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สอบสวนและตรวจสอบหลักฐานเชื่อว่ าผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกก็จะต้ อง ดำเนินการประกาศมีกำหนด ๓๐ วัน เมื่อครบกำหนด ๓๐ วัน แล้วถ้าไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้ าน ก็จดทะเบียนต่อไปได้ ถ้ามีการโต้แย้งคัดค้านจะต้ องรอเรื่องไว้ โดยให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดำเนินการไปตามคำพิพากษาหรื อคำสั่งศาลนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มี อำนาจสอบสวนเปรียบเทียบสั่ งการไปตามที่เห็นสมควร ตามนัยมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่ างใด
การขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกตามคำสั่งศาล
ผู้ขอจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานการเป็ นผู้จัดการมรดก คือ คำสั่งศาล ไปยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดิ นตั้งอยู่ หรือจะยื่นที่งานจดทะเบียนต่ างพื้นที่สำนักงานที่ดินกรุ งเทพมหานคร หรือสำนักงานที่ดินแห่งหนึ่งแห่ งใดก็ได้ ซึ่งการจดทะเบียนผู้จั ดการมรดกตามคำสั่งศาล เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สอบสวนแล้วเห็นว่าถูกต้อง ก็จดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกได้โดยไม่ต้องประกาศ ขอจดทะเบียนผู้จั ดการมรดกตามคำสั่งศาล กฎหมายมิได้กำหนดให้มีการคัดค้ านได้ อย่างเช่นการขอจดทะเบียนผู้จั ดการมรดกตามพินัยกรรม ดังนั้น เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนลงชื่ อผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกเดี ยวกัน โดยคนหนึ่งขอจดทะเบียนลงชื่อผู้ จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตามคำร้องขอเป็นผู้จั ดการมรดกผู้ขออ้างว่า เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ในกรณีเช่นนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องรั บจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกให้แก่ ผู้ขอที่เป็นผู้จั ดการมรดกตามคำสั่งศาล เพราะตราบใดที่ศาลยังมิได้มี คำสั่งเปลี่ยนแปลงก็ต้องถือว่ าผู้นั้นยังเป็นผู้จั ดการมรดกอยู่ ส่วนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ควรขออายัดแล้วไปดำเนิ นการทางศาลต่อไป ตัวอย่าง ศาลได้มีคำสั่งตั้งให้ นาย ก. เป็นผู้จัดการมรดกไว้แล้ว ต่อมา นาย ข. ได้ไปขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จั ดการมรดกโดย นาย ข. ไม่ทราบว่ามรดกรายนี้ได้มีคำสั่ งศาลตั้ง นาย ก. เป็น ผู้จัดการมรดกไว้และศาลได้มี คำสั่งตั้ง นาย ข. เป็นผู้จัดการมรดกอีก กรณีเช่นนี้ศาลยังมิได้มีคำสั่ งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก็ต้ องถือว่าทั้งนาย ก. และ นาย ข. เป็นผู้จัดการมรดกด้วยกัน ในทางปฏิบัติถ้าผู้จัดการมรดกทั้ งสองคนตกลงกันได้ โดยขอจดทะเบียนเป็นผู้จั ดการมรดกด้วยกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็จะจดทะเบียนให้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกตามคำสั่ งศาลทั้งสองไม่อาจตกลงกันได้ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปดำเนิ นการทางศาลกันต่อไป
ประเภทการจดทะเบียนผู้จั ดการมรดก
ผู้จัดการมรดก หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจะมีชื่ อผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียวหรื อหลายคนก็ได้ แต่ทุกคนจะต้องถึงแก่กรรม ผู้ขอต้องขอจดทะเบียนลงชื่อเป็ นผู้จัดการมรดกไปทั้งแปลง กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์มี หลายคน ผู้จัดการมรดกของผู้ถือกรรมสิ ทธิ์ทุกคนจะต้องมีผู้จั ดการมรดกเป็นบุคคลคนเดียวกันหรื อชุดเดียวกัน เช่น โฉนดที่ดินมีชื่อ นาย ก. และนาง ข. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ นาย ก. และนาง ข. ถึงแก่กรรม มีนาย ค. เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งของ นาย ก. และ นาง ข. นาย ค. ขอจดทะเบียน ลงชื่อเป็นผู้จัดการมรดกทั้งของ นาย ก. และนาง ข.
ผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต้องมี ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หลายคน ผู้ถือกรรมสิทธิ์บางคนหรือทุ กคนถึงแก่กรรม ผู้ขอได้ขอจดทะเบียนลงชื่อเป็ นผู้จัดการมรดกเฉพาะส่ วนของบางคน เช่น โฉนดที่ดินมีชื่อ นาย ก. นาง ข. และนาย ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ถึงแก่กรรม มีนาย ง. เป็นผู้จัดการมรดกของ นาย ก. และนาง ข. นาย ง. ขอจดทะเบียนลงชื่อเป็นผู้จั ดการมรดกเฉพาะส่วนของ นาย ก. และนาง ข. ไม่เกี่ยวกับส่วนของ นาย ค. เปลี่ยนผู้จัดการมรดก หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมี การจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาศาลสั่งถอนการเป็นผู้จั ดการมรดก แล้วตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จั ดการมรดกแทน ผู้ได้รับตั้งเป็นผู้จั ดการมรดกใหม่มาขอจดทะเบียนลงชื่ อเป็นผู้จัดการมรดก
โอนเปลี่ยนนามผู้จัดการมรดก หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน มีการจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาผู้จัดการมรดกได้ถึงแก่ กรรม ศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้ นใหม่ ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จั ดการมรดกใหม่มาขอจดทะเบียนลงชื่ อเป็นผู้จัดการมรดก
เลิกผู้จัดการมรดก หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน มีการจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดกไว้ ต่อมาผู้จัดการมรดกได้ถึงแก่ กรรมหมดทุกคน ทายาทไม่ประสงค์ให้ตั้งผู้จั ดการมรดกขึ้นใหม่อีก แต่ต้องการจะขอจดทะเบียนรั บโอนมรดกไปตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทายาทมาขอจดทะเบียนเลิกผู้จั ดการมรดกได้
ข้อที่ควรระวังเกี่ยวกับการลงชื่ อผู้จัดการมรดก ทุกครั้งที่จดทะเบียนลงชื่อผู้ จัดการมรดกจะต้องระบุข้อความว่า “ผู้จัดการมรดก” ต่อท้ายชื่อบุคคลที่เป็นผู้จั ดการมรดกเสมอ ถ้าไม่ระบุข้อความว่า “ผู้จัดการมรดก” ไว้ จะทำให้การจดทะเบียนครั้งต่ อไปเกิดผิดพลาดได้ง่าย เพราะอาจเข้าใจว่ามีชื่ อในฐานะส่วนตัว การแก้ทะเบียนในสารบัญจดทะเบี ยนในโฉนดที่ดินก็ควรให้ชัดเจนดู ได้ง่าย
ค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนลงชื่อผู้จั ดการมรดก, ผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน, เปลี่ยนผู้จัดการมรดก, โอนเปลี่ยนนามผู้จัดการมรดก และเลิกผู้จัดการมรดกเป็ นการจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรั พย์ เรียกเก็บค่า ธรรมเนียมแปลงละ ๕๐ บาท ตามข้อ ๒(๗) (ฑ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ และไม่มีกรณีต้องเรียกเก็บภาษี อากร กรณีผู้จั ดการมรดกหลายคนมอบอำนาจมาทำการจ ดทะเบียนประเภทใดประเภทหนึ่ง ถือว่าเป็นเรื่องของผู้จั ดการมรดกที่มอบมาทำการแต่ละบุ คคลเป็นคนละเรื่อง ไม่ว่าจะมอบอำนาจ ในหนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวกั นหรือหลายฉบับเพราะเป็นกิจธุ ระของแต่ละบุคคล จึงต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนี ยมมอบอำนาจเป็นรายบุคคลที่มอบบุ คคลละเรื่องเรื่องละ ๒๐ บาท ตามข้อ ๒(๑๐) (ฉ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๑)ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ.๒๕๔๙)ฯ
ที่มา: ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม
สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน