การไหว้เจ้าของชาวจีน
การไหว้เจ้า เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลู กหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้ าที่และไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้ เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ ครอบครัว ในปีหนึ่งจะมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง คือ
-
ไหว้ครั้งแรกของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 คือ ตรุษจีน เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย”
-
ไหว้ครั้งที่สอง ของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า “ง่วงเซียวโจ่ย”
-
ไหว้ครั้งที่สาม ของปี ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า “ไหว้เช็งเม้ง”
-
ไหว้ครั้งที่สี่ ของปี ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย”
-
ไหว้ครั้งที่ห้า ของปี ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีนเรียกว่า “ตงง้วงโจ่ย”
-
ไหว้ครั้งที่หก ของปี ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า “ตงชิวโจ่ย”
-
ไหว้ครั้งที่เจ็ด ของปี ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า “ไหว้ตังโจ่ย”
-
ไหว้ครั้งที่แปด ของปี ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ “ก๊วยนี้โจ่ย”
ประเพณีการไหว้เจ้าทั้ง 8 ครั้งนี้ มีคำจีนเฉพาะเรียกว่า “โป๊ยโจ่ย” โป๊ย คือ 8 โจ่ย แปลว่า เทศกาล โป๊ยโจ่ย จึงหมายความว่า การไหว้เจ้า 8 เทศกาล ซึ่งนอกจากการไหว้เจ้า 8 เทศกาลนี้แล้ว บางบ้านอาจมีวันไหว้พิเศษกับเจ้ าบางองค์ที่นับถือศรัทธา คือ
-
การไหว้เทพยดาฟ้าดิน เช่น การไหว้วันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เรียกว่า “ทีกงแซ” หรือ “ทีตี่แซ” ก็ได้ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ของจีน
-
การไหว้อาเนี้ยแซ คือ ไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 เดือน 2, วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9
-
การไหว้แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3
-
การไหว้เทพยดาผืนดิน คือ ไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3
-
การไหว้อาพั้ว “อาพั้ว” คือ พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก วันเกิดอาพั้ว หรือ “อาพั้วแซ” ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
-
การไหว้เจ้าเตา ไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า “ไหว้เจ๊าซิ้ง”
การไหว้เจ้าพิเศษนี้ แล้วแต่ศรัทธาของแต่ละบ้ านและแล้วแต่ความจำเป็น เช่น ถ้าที่บ้านไม่มีเด็ก ก็ไม่จำเป็นต้องไปไหว้อาพั้ว หรือถ้าที่บ้านไม่ได้ทำนาทำไร่ ก็ไม่มีที่ และไม่มีความจำเป็นต้องไหว้โท้ วตี่วิ้ง หรือเทพยดาผืนดิน พูดถึงการไหว้เจ้า จะหมายถึงการไหว้เจ้าที่กับไหว้ บรรพบุรุษ เครื่องเซ่นสำหรับไหว้เจ้าที่ จะจัดเป็น 1 ชุด เครื่องเซ่นสำหรับบรรพบุรุษจะจั ดเป็นอีกชุดต่างหาก การไหว้จะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้เจ้าที่ก่อน พอสายหน่อยจึงจะตั้งโต๊ะไหว้ บรรพบุรุษ ซึ่งของไหว้จะมีของคาว ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่ม โดยมีกับข้าวคาวเพิ่มเข้ ามาสำหรับการไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งมีธรรมเนียมว่าต้องให้มี ของน้ำ 1 อย่าง เช่น แกงจืด
การจัดของไหว้
ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้ นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้ งแทน ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย”
ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้
ผลไม้ที่ใช้ไหว้ จะนิยมเลือกชนิดที่มี
-
ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
-
สาลี่ทอง สื่อถึงเงินทอง มีโชคลาภ หากได้รับประทานสามารถดับร้อน แก้ร้อนในได้เพราะเป็นผลไม้ธาตุ
เย็น -
องุ่น เรียกว่า “ภู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
-
สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
-
กล้วยหอมหวีใหญ่ กวักโชคลาภเข้ามา สื่อถึงความงอกงาม มีลูกมีหลานสืบสกุล ร่ำรวยเงินทอง
-
แอ๊ปเปิ้ลแดง สื่อถึงความสันติสุขปัดเป่
าโรคภัยไข้เจ็บ -
ทับทิม เชื่อกันว่าจะทำให้ครอบครัวอบอุ่
น ไม่มีขัดแย้งบาดหมางกัน -
ลูกพลับ ในความหมายลูกพลับสื่อถึงจิ
ตใจเข้มแข็ง ความหนักแน่นมั่นคง -
แก้วมังกร เป็นผลไม้แห่งอำนาจ ความอุดมสมบูรณ์
หมายเหตุ:ผลไม้ต้องห้าม ที่ไม่ควรซื้อมาไหว้ตรุษจีนเด็ ดขาด ด้วยชาวจีนเชื่อว่า เป็นผลไม้ไม่เป็นมงคล ได้แก่ ผลไม้ดิบ ผลไม้สีดำ เพราะสื่อถึงการไว้ทุกข์ ไม่เป็นมงคล นอกจากนี้ผลไม้สีเขียว อาทิ กล้วยดิบ องุ่นเขียว ฝรั่ง ลูกแพร์เขียว
ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ “โหงวจี้” สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์) โดยถือว่าเมล็ดทั้งห้า คือบ่อเกิดของการเจริญเติบโตอุ ปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้ นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง
แต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้าน ต้องใช้ข้าวสารหรือทราย มิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถู กความชื้น เช่น ฝนหรือน้ำค้าง จะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็ เผากระดาษเงินกระดาษทองเป็ นการปิดท้ายรายการ
ที่มา:หนังสือตึ่งหนั่งเกี้ย