ภาษีอากร

tax01

ภาษีคือ ภาระที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องนำส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อสนับสนุนรัฐและกิจการของรัฐ โดยอาจจะอยู่ในรูปของเงินหรือไม่ก็ได้  ซึ่งตัวภาษีนั้นอาจจะใช้ชื่อเรียกว่า ภาษี หรือชื่ออย่างอื่นก็ได้แต่ต้องไม่ใช่การบริจาคหรือการจ่ายตามอัธยาศัย และเมื่อจ่ายภาษีไปแล้ว ผู้เสียภาษีอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนกลับมาโดยตรงจากภาษีที่จ่ายไป เพราะถ้าผู้เสียภาษีได้รับประโยชน์โดยตรงแล้วคงไม่เรียกว่าเงินภาษี แต่น่าจะเรียกว่าค่าธรรมเนียมมากกว่า
อากรคือ เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
ประเภทของภาษี
1. ภาษีทางตรง หมายถึง ภาษีที่ภาระภาษีตกแก่บุคคลที่กฏหมายประสงค์จะให้รับภาระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก
2. ภาษีทางอ้อม หมายถึง ภาษีที่ภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฏหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพาสามิต
ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมีดังนี้
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • อากรแสตมป์
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ภาษีมรดก
  • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น ได้แก่
  • ภาษีป้าย
  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • ภาษีบำรุงท้องที่
  • อากรรังนกนางแอ่น
กรมสรรพสามิตก็เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการบางประเภทที่ต้องการควบคุม เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม
นอกจากนี้ กรมศุลกากรก็มีการเรียกเก็บภาษีศุลกากร เป็นค่าธรรมเนียมของการนำสินค้าบางชนิดเข้าประเทศ
  • กรมสรรพกร เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรมสรรสามิตเก็บ ภาษีสุรา ภาษีบุหรี่ น้ำมัน ปูนซีเมนต์ ไพ่
  • กรมศุลกากร เก็บภาษีนำเข้าและส่งออก
  • ส่วนราชการท้องถิ่น ภาษีบำรุงท้องที่ โรงเรือน ภาษีป้าย
อัตราในการจัดเก็บภาษี
  • อัตราก้าวหน้า จัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อรายได้สูงขึ้นจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้
  • อัตราคงที่ ไม่ว่ารายได้สูงต่ำอย่างไรเก็บอัตราภาษีในอัตราเดียวกัน
  • อัตราถอยหลัง จัดเก็บภาษีในอัตราที่ลดลงเมื่อผลิตสินค้าได้มากเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรม
ภาษีที่ทำให้เกิดความยุติธรรมในการจ่ายรายได้มากที่สุดได้แก่ การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เมื่อผลิตสินค้าหรือมีทรัพย์สินมากเท่าไหร่ก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้น
อัตราศุลกากร
  • อัตราศุลกากรเดี่ยว เก็บเข้าออกทุกๆประเทศที่ค้าขายด้วยในอัตราที่เท่ากัน
  • อัตราซ้อนเก็บในอัตราที่ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีการค้าที่เก็บจากสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย เริ่มใช้เมื่อ พ. ศ 2535 เรียกเก็บร้อยละ 7
การเสียภาษี
” การเสียภาษี ” เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน ซึ่งรัฐจะนำภาษีที่จัดเก็บได้นำไปจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดิน เพื่อสร้างสวัสดิการด้านต่างๆแก่ประชาชน และพัฒนาโครงสร้างความเจริญในระดับภูมิภาค กระจายไปในทุกท้องที่ แม้ว่าจะมีความห่างไกลเพียงใด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ดังนั้น ประชาชนจึงควรตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่มีต่อส่วนรวมนี้ และปฏิบัติตามข้อกำหนดในการเสียภาษีโดย ถูกต้อง ส่วนภารกิจของภาครัฐคือ การบริหารจัดการระบบจัดเก็บภาษี ที่มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องเที่ยงตรงและมีความทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประชาชนผู้เสียภาษีทุกคน
ที่มา:หนังสือภาษีอากร(ตามประมวลรัษฎากร)


Similar Posts