มาดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์กัน

 

ประเภทของเฟอร์นิเจอร์มีดังนี้

 

1.เฟอร์นิเจอร์ไม้แลคเกอร์ : ไม่ควรนำวัสดุร้อนจัด เช่น กาน้ำร้อน บุหรี่ วางโดยตรงโดยไม่มีวัสดุรองรับ,ระวังการกระแทกจากของแข็ง เพราะ อาจทำให้เกิดรอยบุบ ยุบได้การทำความสะอาด ทำความสะอาดปกติด้วยแปรงปัดฝุ่น,ผ้าหมาด และสามารถใช้น้ำยาขัดเงาประเภท WAX สำหรับเฟอร์นิเจอร์แลคเกอร์เงา

 

2.เฟอร์นิเจอร์ประเภทลามิเนต : ไม่ควรนำวัสดุร้อนจัด เช่น กาน้ำร้อน บุหรี่วางโดยตรงโดยไม่มีวัสดุรองรับ , เฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการย้ายไม่ควรใช้วิธีลากและไม่ควรให้เปียกน้ำเป็นเวลานานๆ การทำความสะอาดคราบกาแฟ ใช้น้ำสบู่ทำความสะอาดแล้วเช็ดแห้ง คราบหมึกรีบทำความสะอาดทันทีด้วยน้ำยาซักผ้า คราบสารเคมีอาจเกิดคราบถาวรควรรีบทำความสะอาด ทันทีแล้วเช็ดด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง

 

3.เฟอร์นิเจอร์ประเภทหนังแท้ : ไม่ควรให้ถูกแสงแดดมาก อาจทำให้ ผิวหนังกรอบได้ ระวังของมีคมจะทำให้หนังเสียหาย การทำความสะอาด โดยเช็ดด้วยผ้าหมาดน้ำหรือแชมพูอ่อนๆ หากสกปรกมากให้ใช้น้ำมันจักรหรือน้ำยาทำความสะอาดหนังแท้โดยตรง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาที่ไม่ระบุ สำหรับหนังแท้ อาจทำให้หนังแข็ง กระด้าง

 

4.เฟอร์นิเจอร์ประเภทหนังเทียม : ไม่ควรให้ถูกแสงแดดมาก อาจทำให้หนังกรอบเสียหายได้ ระวังของมีคมจะทำให้หนังเสียหายการทำความสะอาดโดยเช็ดด้วย ผ้าหมาดน้ำหรือแชมพูอ่อนๆ หากสกปรกมากให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปเช็ดทำความสะอาดควรหลีก เลี่ยงการใช้น้ำมันก๊าด

 

5.เฟอร์นิเจอร์ประเภทโครเมียม : ไม่ควรให้ถูกขูดหรือกระแทกจากของแข็ง ของมีคมเพราะจะเกิดรอยที่ไม่ สามารถลบได้หลีกเลี่ยงคราบเกลืออาจทำให้เกิดสนิม การทำความสะอาดเช็ดด้วยผ้านุ่มหมาดน้ำ หากต้องการขัดเงาทำได้โดยโรยแป้ง ฝุ่นให้ทั่วบริเวณแล้วใช้ผ้านุ่มเช็ดออกให้หมด

 

ขั้นตอนการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์หวาย

 

1.การพิจารณาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์หวายมาใช้งาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรกก็คือ เรื่อง ความละเอียดของงาน โดยดูได้จากเส้นตั้งว่าเป็นระเบียบหรือไม่ เพราะถ้าตั้งเสาหรือขึ้นเสาไม่ดี เฟอร์นิเจอร์หวายจะไม่สวยงาม และหากช่างขาดความชำนาญด้วยแล้ว เส้นตั้งที่ได้จะไม่ตั้งตรง (โย้ไปเย้มา) เมื่อนำไปใช้งานจริงจะเสียหายได้เร็วกว่าเวลาอันควร

 

2.ก่อนจะซื้อเฟอร์นิเจอร์หวายให้ลองจับที่พื้นผิวของหวาย เช่น หน้าโต๊ะ ที่รองนั่ง ฯลฯ ดูว่าปราศจากเสี้ยนหรือไม้สานหวายได้ตึงและแน่นดีหรือเปล่า ถ้าไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวก็ไม่ควรซื้อมาใช้งาน เพราะเฟอร์นิเจอร์หวายที่สานไม่แน่น เมื่อโดนอากาศเย็นและชื้น เส้นหวายจะเคลื่อนตัวจากโครงหวาย ทำให้ผิวหวายหย่อนได้ง่าย

 

3.ให้ดูระยะห่างของเส้นตั้ง โดยประมาณด้วยสายตาว่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันหรือไม่ เพราะช่างฝีมือที่มีความชำนาญเขาจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการสานเส้นตั้ง ซึ่งจะขึ้นเป็นคู่ๆ เรียงกันไปอย่างเป็นระเบียบสวยงาม โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดไดๆ นอกจากสายตาของช่างสานเอง

 

4.เคล็ดลับอีกประการหนึ่งในการสานหวายให้สวยงามนั้นก็คือ การให้แรงในการดึง เพื่อให้พื้นผิวของหวายตึงและแข็งแรง ซึ่งส่วนใหญ่ช่างสานที่เป็นผู้ชายจะทำได้ดีกว่าช่างสานที่เป็นผู้หญิง เนื่องจากผู้ชายจะมีแรงกดและแรงดึงที่ดี แต่ทั้งนี้ให้สังเกตที่จุดต่อเชื่อมของโครงหวายเป็นหลัก ซึ่งต้องมัดให้แน่นเท่ากัน และควรรัด 2-3 รอบต่อจุด เพื่อความแข็งแรงทนทาน

 

5.สำหรับการดูสีของเนื้อหวาย ว่าเป็นหวายที่มีคุณภาพหรือไม่นั้น ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากพอควรในการสังเกตแต่เพียงรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งนี้เพราะหวายมีมากมายหลายพันธุ์ แต่ละชนิดก็มีสีผิวที่ต่างกันตามสายพันธุ์และถิ่นกำเนิด เช่น หวายน้ำผึ้ง หวายแดง ฯลฯ ซึ่งในขั้นตอนหนึ่งของการสานหวายนั้นเส้นหวายที่จะนำมาสานต้องถูกนำไปฟอกหรือย้อมสีก่อน และการฟอกสีหวายนี้ไม่ทำให้เส้นหวายเสียหายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่กลับช่วยเพิ่มสีสันให้งานเฟอร์นิเจอร์หวายมีเสน่ห์มากขึ้น

 

6.ดังนั้นหวายจะมีคุณภาพดีหรือไม่นั้น ไม่ใช่ดูเพียงแค่สีผิวของหวายหรือสีสันที่เราชื่นชอบ แต่ควรทราบแหล่งที่มาของวัตถุดิบซึ่งนำมาประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ด้วย เช่น ผิวหวายที่มีคุณภาพสามารถรับน้ำหนักได้ดี ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีนหรืออินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งเราอาจสอบถามรายละเอียดจากผู้ขายได้โดยตรง

 

7.หวายเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีความแข็งแรงทนทาน เมื่อนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์จึงมีอายุการใช้งานยาวนาน เฟอร์นิเจอร์หวายจะไม่ชำรุดถ้าเราไม่ได้นำไปใช้งานหนักหรือใช้งานผิดประเภท เช่น ปล่อยให้ตากแดดตากฝน หรือให้เด็กๆ ขึ้นไปกระโดดโลดเต้น ดังนั้นเมื่อเฟอร์นิเจอร์หวายถูกกระแทกหรือเสียดสีบ่อยครั้ง ก็ควรรีบนำไปซ่อมแซมให้เรียบร้อย เพราะเฟอร์นิเจอร์หวายสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 20 ปีทีเดียว

 

วิธีซ่อมสีเฟอร์นิเจอร์เก่า 

 

1.ขัดสีเก่าออกด้วยกระดาษทรายหยาบเบอร์ 4 หรือ ผ้าทรายหยาบ ให้สีเก่าออกหมด ตามซอกมุมต่างๆ ให้ใช้กระดาษาทรายทับเพื่อสอดเข้ามุม แล้วปัดฝุ่นผงขัดให้สะอาด

 

2.ขัดเรียบอีกครั้งด้วยกระดาษทรายเบอร์ 2 เพื่อให้ผิวเฟอร์นิเจอร์เรียบเนียน และ ทำความสะอาดอีกครั้ง

 

3.ทาชแลคสำเร็จรูปรองพื้นก่อน 1 เที่ยว เพื่อป้องกัน สีหรือยางไม้ ออกมาแล้วค่อยทาสีตามต้องการโดยทาสีแต่ละเที่ยวทิ้งระยะห่างประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่โชว์ลายให้ทาสีแลกเกอร์ผสมทินเนอร์ในอัตราส่วน 1:1 เช่นกัน

 

4.ในส่วนที่ไม่ใช่พื้นเรียบที่ไม่สามารถทาด้วยแปรงได้สะดวกนั้นเช่น ขาเก้าอี้ ตามซี่ของพนักพิง ให้ใช้ถุงมือสำหรับทาสีชุบสีบีบสีให้หมาดๆ แล้วกำส่วนที่ต้องการทาสีหลวมๆรูดไปมาจนทั่ว

 

วิธีซ่อมแซมแผ่นหน้าโต๊ะหลุดร่อน 

 

1.ผิวหน้าโต๊ะที่พองบริเวณขอบหน้าโต๊ะสามารถแก้ไขได้โดย ใช้เตารีดทับรองด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอล์ยให้กาวที่ทาประสานอ่อนตัว ลอกแผ่นวีเนียรที่พองออกได้ด้วยเหล็กโป้วสีค่อยๆแซะออก

 

2.ขูดคราบกาวที่ติดอยู่ออกด้วยเหล็กโป๊วขูดสีและขัดด้วยกระดาษทรายให้สะอาดและทากาวยางหรือกาวลาเทกซ์ลงให้ทั่วทับแผ่นวีเนียรด้วยแคล็มป์โดยมีแผ่นไม้ มาวางรองกันผื้นผิวเป็นรอยทิ้งไว้ประมาณ 3 ชม.

 

3.สำหรับแผ่นหน้าโต๊ะที่เป็นรอยเสียหายต้องเปลี่ยนมีขั้นตอนดังนี้ วางกระดาษสำหรับทำแบบบนรอยเสียหาย ตัดแผ่นวีเนียรที่เสียหายออกโดยตัดผ่านกระดาษแบบด้วยมีดอเนกประสงค์

 

4.แซะลอกแผ่นปิดผิวหน้าออกด้วยเหล็กโป้วสีขนาด 1 นิ้ว ลอกออกแผ่นวีเนียรที่เสียออก แซะทำความสะอาดผิวพื้นโต๊ะขัดด้วยกระดาษทรายละเอียด ไม่ให้มีเศษกาวเหลืออยู่

 

5.ตัดแผ่นวีเนียรแผ่นใหม่ตามแบบกระดาษที่ตัดมาพร้อมกับแผ่นหน้าที่เสียหาย โดยวางให้ลายของแผ่นใหม่ไปทางเดียวกันกับลายของหน้าโต๊ะเดิม

 

6.ทากาวยาง หรือ กาวลาเทกซ์ ที่ด้านหลังของแผ่นใหม่วางลงในช่องกดปรับ ให้ผิวหน้ามีระดับเท่ากันกับแผ่นเดิมและลายให้ไปทางเดียงกัน กดทับด้วยของหนักไว้ประมาณ 3 ชม. รอจนกาวเซ๊ทตัวก่อนนำไปใช้งาน

 

ที่มาBaanNut99.com

 

 

Similar Posts