Skip to content
การวางทรัพย์ที่สำนักงานที่ดิน
คำขอวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ ณ สำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนขายฝาก
ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ
การตรวจสอบเอกสาร และยื่นคำขอ(ระยะเวลาประมาณ 60นาที)
– ยื่นคำขอ
– ตรวจเอกสารหลักฐาน/สารบบที่ดิน หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือหนังสือ กรรมสิทธิ์ห้องชุด
– รับคำขอและสอบสวน พร้อมทั้งจัดทำสำเนาหลักฐานจากต้นฉบับที่ผู้ขอนำมา แสดง
– ผู้ขอลงนามในคำขอ – พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นต่อ เจ้าพนักงานที่ดิน
การพิจารณา(ระยะเวลาประมาณ 30นาที)
– เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจตรวจสอบเรื่อง และพิจารณาสั่ง “รับวางทรัพย์” หรือ “ไม่รับวางทรัพย์”
– พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งตามจำนวนสินไถ่ ที่กำหนดไว้ในสัญญาและค่าคำขอ โดยให้ ผู้วางทรัพย์นำเงินไปชำระที่การเงิน นำใบเสร็จ รับเงินติดไว้ด้านหลังคำขอ
– พนักงานเจ้าหน้าที่ลงบัญชีอายัด
– พนักงานเจ้าหน้าที่ทำหนังสือแจ้งผู้ซื้อฝากทราบ ถึงการวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่และสถานที่ รับสินไถ่ภายในวันที่มีคำสั่งรับวางทรัพย์ หรืออย่างช้าภายในวันทำการรุ่งขึ้น
รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ
1. เอกสารยืนยันตัวตนที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ
1.1 บัตรประจำตัวประชาชน (ต้นฉบับ)
1.2 ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ซึ่งออกโดยสถานีตำรวจท้องที่หรือหนังสือเดินทางหรือ หนังสือรับรองของเจ้าหน้าที่พนักงานกงสุล หรือสถานทูตที่ผู้นั้นสังกัดอยู่หรือหนังสือแสดงสัญชาติ (Emergency Certificate) ซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้เป็นการชั่วคราว (ต้นฉบับ)
1.3 กรณีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลดำเนินการด้วยตนเอง (ต้นฉบับ)
– บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (กรณีคนต่างด้าว) ของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลและตราประทับของนิติบุคคล (กรณีหนังสือรับรองนิติบุคคลระบุว่าต้องมีการประทับตรา)
1.4 หนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นเอกสารที่เชื่อมโยงจากฐานข้อมูลของภาครัฐ
2. เอกสารอื่น ๆ สำหรับยื่นเพิ่มเติม
2.1 หนังสือสัญญาขายฝาก (ฉบับผู้ขายฝาก) (ต้นฉบับ)
2.2 รายงานการประชุมของนิติบุคคล (ต้นฉบับหรือสำเนารับรองความถูกต้อง) ที่มีมติให้ทำนิติกรรมพร้อมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง กรณีนิติบุคคลมีกรรมการเพียงคนเดียวไม่ต้องใช้รายงานการประชุม เว้นแต่ ข้อบังคับของนิติบุคคลต้องประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดให้แสดงรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น (ต้นฉบับหรือสำเนารับรองความถูกต้อง) พร้อมประทับตราของนิติบุคคล (กรณีหนังสือรับรองนิติบุคคลระบุว่าต้องมีการประทับตรา)
2.3 หนังสือมอบอำนาจ (ต้นฉบับ) กรณีบุคคลธรรมดา (ผู้ขอจัดทำ)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจที่รับรองความถูกต้อง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ต้นฉบับ) ของผู้รับมอบอำนาจ
2.4 หนังสือมอบอำนาจ (ต้นฉบับ) กรณีนิติบุคคล (ผู้ขอจัดทำ)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีกรรมการเป็นคนต่างด้าว) ของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองส าเนาถูกต้อง)
– พร้อมประทับตราของนิติบุคคลในหนังสือมอบอำนาจ (กรณีหนังสือรับรองนิติบุคคลระบุว่าต้องมีการประทับตรา) พร้อมทั้งตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการ แทนนิติบุคคล (ต้นฉบับหรือสำเนารับรองความถูกต้องซึ่งผู้ขอจัดทำ)
2.5 หลักฐานสำหรับนิติบุคคลอื่น ๆ (ต้นฉบับ) กรณีนิติบุคคลอื่นที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น สมาคม มูลนิธิ สหกรณ์ เป็นต้น ต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้ 1.หนังสือรับรองนิติบุคคล 2.เอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล 3.ข้อบังคับของนิติบุคคล 4.บัญชีรายชื่อสมาชิก 5.บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
2.6 เอกสารที่นำมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาไทย (ต้นฉบับหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้อง) ที่รับรองความถูกต้องโดย
(1) คนไทยที่จบการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในหลักสูตรที่ใช้ภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้นเป็นภาษาในการเรียนการสอน หรือ
(2) อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและเป็นผู้สอนภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้นในสถาบันการศึกษา หรือ
(3) สถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยประเทศนั้นใช้ภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้นเป็นภาษาราชการ หรือ
(4) สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ (ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539)
หมายเหตุ กรณีบุคคลธรรมดา เอกสารจากฐานข้อมูลกรมการปกครอง เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ใบมรณบัตร เป็นต้น เป็นเอกสารที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลภาครัฐเป็นหลัก
ค่าธรรมเนียม
1. ค่าคำขอ (กรณีที่ดิน) แปลงละ 5 บาท
2. ค่าคำขอ (กรณีห้องชุด) ห้องชุดละ 20 บาท
3. ค่ามอบอำนาจ (กรณีที่ดิน) เรื่องละ 20 บาท
4. ค่ามอบอำนาจ (กรณีห้องชุด) เรื่องละ 50 บาท
5. จำนวนเงินตามจำนวนสินไถ่ที่กำหนดไว้ ในสัญญาขายฝาก
ช่องทางการให้บริการ
สถานที่ให้บริการ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร หรือสาขา สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา หรือส่วนแยก ท้องที่ซึ่งที่ดินหรือที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุดตั้งอยู่
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
ช่องทางติดต่อ/ร้องเรียน
1. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา/ส่วนแยก พื้นที่ที่ใช้บริการ
2. ตู้รับเรื่องร้องเรียนสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา/ส่วนแยก16
3. กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ โทร. 0 2141 5555
4. ฝ่ายเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานเลขานุการกรม โทร. 0 2141 5500- 4 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ80 พรรษาฯ ชั้น 6 อาคารรัฐประศาสนภักดี ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210
5. ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตู้ ปณ. 1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลกเขตดุสิต กทม. 10300/ สายด่วน 1111
6. ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)
– เลขที่ 99 หมู่ 4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลืออำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
– สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0 2502 6670-80 ต่อ 1900, 1904 – 7 โทรสาร 0 2502 6132
– www.pacc.go.th/ www.facebook.com/PACC.GO.TH ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ (The Anti- Corruption Operation center) Tel : +66 92 688 0777 / line : Fad.pacc/ Facebook : The Anti-Corruption Operation Center / Email : Fad.pacc@gmail.com)