เตรียมพร้อมก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน

เตรียมพร้อมก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน

1. ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม รายละเอียดเอกสารหลักฐานในการติดต่อแต่ละประเภท จะอยู่ในหัวข้อประเภทของการติดต่อ เช่น การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์และ การรังวัดประเภทต่าง ๆ2. ก่อนไปติดต่อสำนักงานที่ดินท่านควรทราบว่าเอกสารสิทธิของท่าน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินใด และตั้งอยู่ที่ใด เพื่อไม่ให้ไปผิดสถานที่3. เตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่จะต้องชำระตามกฎหมายให้พร้อม4. ค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการเจ้าหน้าที่จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง5. ทุกสำนักงานที่ดินส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อท่านไปติดต่องานสำนักงานที่ดิน ลำดับแรกขอให้ท่านไปที่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน เพื่อขอคำแนะนำ ตรวจสอบหลักฐานเอกสารและรับบัตรคิว6. การให้บริการเป็นไปตามลำดับคิว7. เมื่องานของท่านสำเร็จแล้ว ขอให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารสิทธิ เช่น ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนวนเนื้อที่ในโฉนดที่ดิน และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ท่านเตรียมมาว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง8. ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละประเภทจะมีประกาศไว้ที่สำนักงานที่ดิน หากท่านเห็นว่างานล่าช้าเกินกว่าปกติ หรือไม่ได้รับความสะดวก หรือมีข้อสงสัยขอให้สอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้ตามแต่กรณี หากงานของท่านไม่มีปัญหาข้อขัดของอื่นใดจะเสร็จในเวลามาตรฐานที่ประกาศไว้9. หากมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการ โปรดแจ้งกรมที่ดินได้โดยส่งข้อร้องเรียนทางไปรษณียบัตร ถึงกรมที่ดิน ตู้ ปณ. 11 ปณฝ. วัดเลียบ กทม. 10200 หรือ โทร. 0-2141-5678-80เตรียมหลักฐานเอกสารต่างๆที่จำเป็นให้ครบถ้วน
1. หลักฐานสำหรับที่ดิน ได้แก่
  • โฉนดที่ดิน ,น.ส.3 ,นส3 ก. ,น.ส.3 ข.
  • หลักฐานการได้มาซึ่งที่ดิน เช่น คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล(ในกรณีดำเนินการทางศาล) และมีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนา(ไม่ใช่ฉบับถ่ายเอกสาร)
2. หลักฐานสำหรับบุคคลธรรมดา ได้แก่
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของตนเอง และของคู่สมรส (ถ้ามี)
  • ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  • ใบมรณะบัตร (เรื่องมรดก)
  • พินัยกรรม (ฉบับตัวจริง กรณีขอรับมรดกตามพินัยกรรม)
  • ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
  • หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรสให้ทำนิติกรรม
3. หลักฐานสำหรับนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นๆ ได้แก่  
  • เอกสารการก่อตั้งนิติบุคคล
  • หนังสือบริคณห์สนธิ
  • หนังสือสำคัญการให้ทำการแทนนิติบุคคล
  • บัญชีรายชื่อปู้ถือหุ้นหรือสมาชิก โดยแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคน
  • บัตรประจำตัวของกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล
  • รายงานการประชุมของนิติบุคคล
เมื่อคู่กรณีไปถึงสำนักงานที่ดิ
ขั้นตอนที่ 1 ติดต่อ “เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์” ของสำนักงานที่ดิน เพื่อ
  • ขอคำแนะนำ
  • ตรวจสอบหลักฐานเอกสารต่างๆ
  • รับบัตรคิวตามลำดับก่อนหลัง
 ขั้นตอนที่ 2 ยื่นหลักฐานเอกสารต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนตามช่องที่ระบุไว้ในบัตรคิว ขั้นตอนของเจ้าหน้าที่
  • ตรวจสอบสารบบที่ดิน และหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
  • รับคำขอและสอบสวนคู่กรณีตามลำดับในบัตรคิว
  • ตรวจอายัด คือ ตรวจดูว่ามีผู้ขอให้งดทำเรื่องต่างๆ ไว้ก่อนหรือไม่
  • ประเมินราคาทุนทรัพย์สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
  • ทำสัญญาและแก้ทะเบียนในโฉนดที่ดิน
 ขั้นตอนที่ 3 เสียค่าธรรมเนียมภาษีอากร
  • คำนวณค่าธรรมเนียมภาษีอากรต่างๆ
  • ชำระค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่างๆ
 ขั้นตอนของเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียน
  • ตรวจสอบเรื่องทั้งหมด
  • คู่กรณีลงนามในสัญญาหรือบันทึกข้อตกลง
  • เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนในสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงและในโฉนดที่ดิน
  • ประทับตรา
 ขั้นตอนที่ 4 แจกโฉนดและสัญญา
  • โปรดตรวจสอบความถูกต้องในโฉนดที่ดิน , น.ส.3 ,น.ส. 3 ก.,น.ส.3 ข., และสัญญาด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ เช่นชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ ชื่อบิดามารดา ที่อยู่ ก่อนกลับ ฯลฯ
 ระยะเวลาดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
  • ประเภทที่ไม่ต้องประกาศ เมื่อผู้ขอยื่นคำขอและแสดงหลักฐานต่างๆ ครบถ้วน ให้ใช้เวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3.15 ชั่วโมง ต่อเรื่อง(รวมระยะเวลาการรอสอบสวน)
 สถานที่ทำนิติกรรม
  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ขายฝาก ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา ส่วนแยกที่ที่ดินตั้งอยู่
      ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์ทำนิติกรรมไม่สะดวกในการเดินทางไปยื่นคำขอจดทะเบียนยังพื้นที่ซึ่ง ที่ดินนั้นตั้งอยู่ สามารถไปยื่นคำขอจดทะเบียน ณ กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งใดแห่งหนึ่งได้ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ต้องมีการประกาศหรือการรังวัด
  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ,น.ส. 3 ก.,น.ส.3 ข.,) จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมาย เว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
  • ในกรณีที่ผู้ขอมีความประสงค์จะขอรับรองราคาประเมินที่ดิน สามารถยื่นคำขอให้ออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ต่างสำนักงานที่ดินได้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขาทุกแห่งได้สำหรับสำนักงานที่ดินอำเภอสามารถออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินสำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้
                                ที่มา:กรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย

Similar Posts