เตรียมของไหว้เจ้าวันตรุษจีน
ทั้งนี้วันตรุษจีนจะมีการเตรี ยมของไหว้อย่างพิถีพิถัน แบ่งเป็นเนื้อสัตว์ ผลไม้ ขนมหวาน กับข้าวคาว กับข้าวเจ อย่างละ 3 หรือ 5 ชนิด พร้อมสุรา น้ำชา ข้าวสวย และกระดาษเงินกระดาษทองประเภทต่ างๆ โดยจะจัดเรียงตามลำดับความสำคั ญตามชนิดของอาหาร ซึ่งจะมีเสียงเรียกพ้องกับเสี ยงของคำมงคล และผลไม้ที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะไหว้ ก็คือ ส้มมหามงคลสีทอง ที่ชาวจีนเรียกว่าส้มไต่กิก เพราะมีความหมายหมายถึงความสวั สดีมงคลอย่างยิ่ง
สำหรับ “วันไหว้” จะทำกันในวันสิ้นปี ซึ่งปกติมีการไหว้ 3-4 ชุด เริ่มจาก “ไหว้เจ้าที่” ในช่วงเช้าด้วยชุดซาแซ คือ หมู เป็ด ไก่ ที่อาจเปลี่ยนเป็นไข่ย้อมสี แดงได้ ขนมเทียน และขนมถ้วยฟู หรือขนมอื่นๆ ผลไม้ไหว้มีส้มสีทอง องุ่น แอปเปิ้ล พร้อมกับกระดาษเงิน กระดาษทอง ต่อด้วยช่วงสายๆ ไม่เกินเที่ยง “ไหว้บรรพบุรุษ” เครื่องไหว้จะประกอบด้วยชุดซาแซ อาหารคาวหวาน ส่วนมากก็ทำตามที่ผู้ล่วงลั บไปแล้วชอบ เต็มที่จะมี 10 อย่าง นิยมว่าต้องมี น้ำแกง เพื่ออวยพรให้ชีวิตราบรื่น และกับข้าวเลือกที่มี ความหมายมงคล ส่วนขนมไหว้บรรพบุรษต่างๆ ก็มีความหมายมงคลเช่นกัน
อาหารไหว้วันตรุษจีน
ไก่ หมายถึง ความสง่างาม ยศ และความขยันขันแข็ง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องเป็นไก่เต็มตัว หมายถึง มีหัว ตัว ขา ปีก มีความหมายถึง ความสมบูรณ์
เป็ด หมายถึง สิ่งบริสุทธิ์ ความสะอาด ความสามารถอันหลากหลาย
ปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์
หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้
ปลาหมึก หมายถึง เหลือกิน เหลือใช้ (เหมือนปลา)
บะหมี่ยาวหรือหมี่ซั่ว หรือ ฉางโซ่วเมี่ยน ตามชื่อหมายถึง อายุยืนยาว
เม็ดบัว หมายถึง การมีบุตรชายจำนวนมาก
ถั่วตัด หมายถึง แท่งเงิน
สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย
หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยผาสุก
สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง คือ เต้าหู้ขาว เนื่องจากสีขาว คือ สีสำหรับงานโศกเศร้า
ซาลาเปา (หมี่ก้วย หรือ หมี่เปา)ไม่มีไส้ เรียกว่า หมั่นโถว มีแบบที่ทำจากหัวมัน เนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมัน เนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี มีไส้ นิยมไส้ เต้าซา แป้งไม่ผสมมัน หน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่าโชคดี
ซิ่วท้อ เป็นซาลาเปาพิเศษ ทำเป็นรูปลูกท้อ ใส้เต้าซา เพราะถือว่าเป็นผลไม้สวรรค์ ใช้ในงานวันเกิด ใครได้กินอายุจะยืนยาว
หนึงกอ (ขนมไข่) ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
ก๊าก้วย (ฮวกก้วย) “ฮวก” แปลว่า งอกงาม / “ก้วย” แปลว่า ขนม ใช้กับงานมงคลเป็นส่วนใหญ่ เช่นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ บนหน้าขนมปั๊มตัวหนังสือตรงกลาง “ฮวดไช้” คำที่อยู่รอบนอก คือ “เฮง” แปลว่า โชคดี
คักท้อก้วย มีไส้ข้าว ไส้กุยช่าย ไส้ผัดผักกะหล่ำ ไส้ถั่ว นวดกับแป้งผสมสีแดง เป็นสีนำโชค ใช้ไหว้เจ้าที่ หรือไหว้บรรพบุรุษ
จับกิ้ม (แต่เหลียง) หรือที่คนไทย เรียกว่า “ขนมจันอับ” ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ
เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด มั่วปัง คือ ขนมงาตัด ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม โหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง
ตั่วเปี้ย คนไทยเรีกว่า “ขนมเปี๊ย” แบบเจ เรียกว่า “เจเปี้ย” มีไส้มังสวิรัติ เช่น ไส้เต้าซา แบบชอ เรียกว่า “ชอเปี้ย” ใส่มันหมู ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกอย่าง
ทึ้งถะ คือ เจดีย์น้ำตาล ซึ่งต้องมีทึ้งไซ หรือสิงห์น้ำตาล มีไว้เพื่ออารักขาเจดีย์ ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ในวันที่ 9 เดือน 1 ของทุกปีและสามรถใช้ไหว้เจ้าแม่ กวนอิมในวันไหว้พระจันทร์ได้
โหงวก้วย -โหงวอั้ง หรือขนมลูกหลาน ใช้ไหว้คนตายในงานศพเท่านั้น ทำจากแป้งข้าวเจ้า ทั้งแบบเกลี้ยง และแบบแต่งถั่วดำ กินไม่อร่อย แต่ใช้ในการทำพิธี
น้ำตาล นำน้ำตาลมาใส่ถุง ติดกระดาษแดง สามารถใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
ผลไม้ไหว้เจ้า
ส้ม คำจีนเรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
องุ่น คำจีนเรียกว่า “พู่ท้อ” หมายถึง งอกงาม
สับปะรด คำจีนเรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
กล้วย คำจีนเรียกว่า “เฮียงเจีย” หรือ “ เกงเจีย ” มีความหมายถึงการมีลูกหลานสื บสกุล
คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอี กภพโลกหนึ่ง เรียกว่า “อิมกัง” ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงิ นทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงิ นกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริ มงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงิ นกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ
กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้ นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสื อว่า “เผ่งอัน” เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานต้องนำมาพับเป็ นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย
ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า “เคี้ยวเท่าซี” เชื่อกันว่าการพับเรือ จะได้ ้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่ นใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด
อิมกังจัวยี่ คือแบงก์กงเต็กนั่นเอง
อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย
เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่ มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
ตั้วกิม เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติ สนิทนำไปไหว้ผู้ตาย การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้ องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ “เหี่ยม” หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิ ฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี