กฏหมายการหมั้น

การหมั้น
หลังจากชายและหญิงเจริญวัยพอสมควร มนุษย์เราก็จะก้าวเข้าสู่วัยหนมสาว วัยผู้ใหญ่เป็นธรรมดาของมนษยชาติ ที่ต้อง การมีคู่ครอง มีครอบครัว ก่อนที่จะมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัวนั้น ชายอาจจะใช้เวลาศึกษา อุปนิสัยใจคอ ความประพฤติของหญิงคู่รัก ว่าเหมาะสมที่จะเป็นแม่บ้าน ของตนหรือไม่ ส่วนหญิงนั้น อาจต้องศึกษาอุปนิสยใจคอของชายที่ตนจะ ทำการสมรสด้วยว่าเป็นอย่างไร ถ้าหากทำการสมรสแล้วจะเป็นพ่อบานที่ดีและ จะเป็นพ่อที่เป็นแบบอย่างที่ดของลูกได้หรือไม่
เมื่อทั้งชายและหญิงมีความเชือมั่นว่า ต่างคนต่างต้องการครองชีวิต ร่วมกัน ทั้งคู่อาจเดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอ เพื่อจดทะเบียนสมรสกัน หรือ จะหมั้นกันไว้ก่อนแล้ว ค่อยสมรสกันในภายหลัง เพื่อให้โอกาสแต่ละฝ่ายได้ เตรียมเนื้อเตรียมตัว และจะเป็นการขยายระยะเวลาในการศึกษาอุปนิสัยกันให้ นานยิ่งขึ้น
๑. หลักเกณฑ์ในเรื่องการหมั้น
การหมั้น เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้นจะทำการสมรสกันในอนาคต กฎหมายต้องการให้เป็น เจตนาอันบริสุทธิ์ของชายและหญิงคู่หมั้น ในการที่จะกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง กฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการคลุมถุงชน ไม่ต้องการให้มีการบังคับให้ทำการสมรส เราจึงเห็นได้ว่าสัญญาหมั้นมีลักษณะแปลกจากสัญญาอื่นๆ ตรงที่ว่า ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสได้ แต่ถึงแม้ว่าจะมีข้อตกลงในเรื่องเบี้ยปรับกันเอาไว้ ข้อตกลงนั้นก็เป็นอันใช้บังคับไม่ได้
ตัวอย่าง นายแดง และนางสาวสร้อยศรีได้ทำการหมั้นกัน ต่อมา นางสาวสร้อยศรีเห็นว่านายแดงยากจนไม่อยากจะสมรสด้วย ที่ตกลงรับหมั้น ในตอนแรกนั้นเพราะคิดว่านายแดง เป็นคนมีฐานะดี นายแดงจะมาขออำนาจ ศาลบังคับให้นางสาวสร้อยศรีทำการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะในเมื่อฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดไม่สมัครใจที่จะเป็นสามีภริยากันแล้ว หากว่าบังคับให้ทำการสมรสกัน ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวอย่างแน่นอน
บุคคลที่จะหมั้นกันได้นั้น ทั้งชายและหญิงจะต้องมีอายุอย่างน้อยสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ กฎหมายกำหนดอายุของทั้ง ๒ คน ว่าแต่ละคนต้องมีอายุ ขั้นต่ำ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ดังนั้นหากชายอายุ ๑๗ ปี หมั้นกับหญิงอายุ ๑๕ ปี การหมั้นย่อมเป็นโมฆะ
เราคงได้ยินกันเสมอว่า บางคนเกิดมาก็มีคู่หมั้นอยู่แล้ว พ่อแม่เป็น คนหมั้นไว้ให้ตั้งแต่บุตรยังอยู่ในท้อง เพื่อไม่ให้เงินทองรั่วไหลไปไหน แต่ใน แง่กฎหมายแล้ว การหมั้นยังไม่ได้เกิดขึ้น เพราะในขณะทำการหมั้นนั้นชายและ หญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์
มีบุคคลบางประเภทแม้มีอายุครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ทำการหมั้น กันไม่ได้เลย บุคคลประเภทนี้ได้แก่
(๑) คนวิกลจริต คนบ้า หรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(๒) บุคคลผู้เป็นบุพการี (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) จะหมั้นกับผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ) ไม่ได้
(๓) บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว
(๔) บุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
แต่มีบุคคลประเภทหนึ่ง สามารถทำการหมั้นได้แต่ต้องขอความยิน ยอมจากบุคคลอื่น บุคคลประเภทนี้คือผู้เยาว์ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปีขึ้นไป แต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (การบรรลุนิติภาวะทำได้ ๒ ทาง คือ มีอายุยี่สิบปี บริบูรณ์ หรือได้สมรสแล้วตามกฎหมาย)
บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำการหมั้นได้แก่
(๑) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
(๒) บิดาหรือมารดาเพียงคนใดคนหนึ่ง ในกรณีที่อีกคนหนึ่งถึงแก่กรรม หรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้
(๓) ผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรม
(๔) มารดา ในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
(๕) ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมได้ตามข้อ (๑), (๒) และ (๓) หรือมีบุคคลดังกล่าวแต่ถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ปราศจากการให้ความยินยอมในกรณีที่ต้องให้ความยินยอม นั้นเป็นการหมั้นที่ไม่สมบูรณ์อาจถูกเพิกถอนได้
๒. ของหมั้น
ของหมั้น คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำการ หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรสกับหญิง
ตามประเพณีของไทยเรานั้น ฝ่ายชายเป็นฝ่ายที่นำของหมั้นไปให้แก่ ฝ่ายหญิง ที่กล่าวว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงนั้นไม่ได้หมายความเฉพาะชายหญิง คู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง หากบุคคลเหล่านี้ทำการหมั้น แทนชายหรือหญิง การหมั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อชายหรือหญิงคู่หมั้นตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
ตัวอย่าง นายแดงอายุ ๒๒ ปี รักนางสาวสุชาดา ซึ่งมีอายุ ๑๙ ปี เป็นอันมาก แต่เนื่องจากนางสาวสุชาดา ไม่ชอบตน นายแดงจึงไปขอหมั้น นางสาวสุชาดากับนางสร้อย มารดาของนางสาวสุชาดา โดยที่นางสาวสุชาดา ไม่ได้รู้เห็นยินยอมแต่อย่างใด นางสร้อยได้ตกลงรับหมั้นนายแดง และนายแดงได้ส่งมอบแหวนเพชรให้เป็นของหมั้นในวันนั้น หากนางสาวสุชาดาไม่ยอมทำการสมรสกับนายแดงไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นายแดงจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางสาวสุชาดาไม่ได้ เพราะสัญญาหมั้นรายนี้นางสาวสุชาดาไม่ได้เป็นคู่สัญญาแต่อย่างใด
ของหมั้นนั้น จะต้องมีของหมั้นและส่งมอบของหมั้นในขณะทำการหมั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๕๒/๒๕๐๖ จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อ ให้แต่งงานกับบุตรจำเลยแต่จำเลยไม่มีเงิน จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ ต่อมาบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญากู้ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ ทรัพย์สินในวันข้างหน้า ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิของหญิงเมื่อได้ทำ การสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่า ได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย แล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ไม่ได้ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีหนี้เดิม ต่อกัน
ในกรณีเช่นนี้ถือว่าสัญญากู้เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ทรัพย์สินเป็นของ หมั้นในอนาคต ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินกันอย่างแท้จริง ฉะนั้นสัญญากู้ จึงไม่เป็นของหมั้น สิ่งที่จะให้เป็นของหมั้นนั้นกฎหมายกำหนดแต่เพียงว่าเป็น ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้กับฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกัน ว่าจะสมรสกับหญิงนั้นเท่านั้น ไม่ได้กำหนดไว้ว่าของหมั้นนั้นต้องมีราคาเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินมาแล้วว่าแม้เป็นเพียงผ้าขาวก็สามารถเป็นของ หมั้นได้
เมื่อทำการหมั้นแล้วของหมั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที
สรุปได้ว่า สาระสำคัญของของหมั้นได้แก่
(๑) ต้องมีการส่งมอบให้แก่กันในขณะทำการหมั้น
(๒) จะมีราคามากน้อยแค่ไหนไม่สำคัญ
๓. สินสอด
สินสอด เป็นทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
บุคคลที่อยู่ในฐานะจะรับสินสอดได้คือ
(๑) บิดามารดาของหญิง
(๒) ผู้ปกครองของหญิง
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ แต่ถ้าเหตุที่ไม่มี การสมรสนั้นเกิดจากความผิดของฝ่ายชายแล้ว ชายไม่มีสิทธิเรียกคืน
สินสอดมีลักษณะแตกต่างจากของหมั้นที่ว่า ของหมั้นต้องมีการส่ง มอบให้แก่ฝ่ายหญิงในขณะที่ทำการหมั้น แต่สินสอดนั้นจะส่งมอบให้แก่บุคคล ที่มีสิทธิจะรับเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมทำการสมรสกับตน หากว่าได้ให้ทรัพย์สินเป็นเพียงเพื่อแก้หน้าบิดามารดาของ ฝ่ายหญิงที่ตนพาลูกสาวของเขาหนีแล้ว ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้ เพราะสิ่งของที่ให้กันนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๖/๒๕๑๘ เงินที่ชายให้แก่มารดาหญิงเพื่อ ขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มีเจตนาจะสมรสกัน ตามกฎหมาย ไม่ใช่สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับ ชาย ชายเรียกคืนไม่ได้
๔. การผิดสัญญาหมั้น
ถ้าชายหรือหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดย ปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น เช่นหญิงมีคู่หมั้นอยู่แล้วไปทำ การสมรสกับชายอื่นที่ไม่ใช่คู่หมั้นของตน หรือหนีตามชายอื่นไป ชายคู่หมั้น จะฟ้องร้องต่อศาลให้ศาลบังคับให้หญิงทำการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะการ สมรสนั้นต้องเกิดจากความสมัครใจ ศาลจะใช้อำนาจไปบังคับให้ชายและหญิง ทำการสมรสกันไม่ได้ แม้ว่าจะมีการตกลงกันว่าถ้าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นจะให้ปรับเป็นจำนวนเท่าใด ข้อตกลงนั้นก็ใช้บังคับกันไม่ได้
แต่คู่หมั้นซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนดังต่อไปนี้
(๑) ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย หรือชื่อเสียง
(๒) ค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากคู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะ เช่น บิดามารดาได้ใช้จ่าย หรือตกเป็นลูกหนี้ เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริต และตามสมควร เช่น ฝ่ายหญิงได้ซื้อ เครื่องนอน เครื่องครัวไว้แล้ว ชายไปแต่งงานกับหญิงอื่น ชายต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายเหล่านี้
(๓) ค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการ ทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวกับอาชีพ หรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดย สมควรด้วยการคาดหมายว่าจะมีการสมรส
ตัวอย่าง สำหรับค่าทดแทนที่ 3 นายแดงอยู่กรุงเทพฯ หมั้นกับนางสาวนุสรา ซึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาลอยู่ต่างจังหวัด มีการกำหนดวันที่จะทำการสมรส นางสาวนุสราจึงลาออกจากพยาบาลเพื่อที่จะเป็นแม่บ้าน เมื่อนางสาวนุสราได้ลาออกจากการเป็นพยาบาลแล้ว นายแดงไม่ยอมทำการสมรสด้วย เนื่องจากได้ไปสมรสกับผู้หญิงอื่น เช่นนี้นายแดงต้องรับผิด ใช้ค่าทดแทนความเสียหาย อันเกิดจากการที่นางสาวนุสราลาออกจากงาน (สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนนี้ มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น)
ในกรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น หญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย ถ้าฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นแล้ว หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น
ที่มา:คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

Similar Posts