กฏหมายผู้กู้ร่วม
เป็นผู้กู้ร่วมแล้วต้องรับผิดชอบอย่างไร ขอถอนตัวได้หรือไม่ แนวทางก่อนตัดสินใจเป็นผู้กู้ร่วมกับบุคคลอื่น
หากคุณเป็นผู้กู้ร่วมต้องการจะเอาชื่ออกจากการกู้ร่วม คุณต้องเข้าใจก่อนว่า การเป็นผู้กู้ร่วมนั้นก็เปรียบเสมือนกับการเป็นผู้กู้เงินด้วยและเป็นผู้ค้ำประกันด้วยเมื่อผู้กู้ร่วมคนอื่นไม่ใช้หนี้ตามสัญญากู้ ธนาคารสามารถฟ้องร้องให้ผู้ที่กู้ร่วมชดใช้เงินได้ แบบนี้เรียกว่า ” เนื้อไม่ได้กิน เอากระดูกมาแขวนคอ “
ดังนั้น คุณจะถอนชื่ออกจากการเป็นผู้กู้ร่วมได้นั้น ต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารและผู้กู้ร่วมรายอื่นๆด้วย จึงจะทำได้ โดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารเจ้าหนี้จะยอมต่อเมื่อคุณชำระหนี้ที่กู้มาจนหมดแล้วเท่านั้น แล้วคุณใช้สิทธิไปไล่เบี้ยกันผู้กู้ร่วมคนอื่น
โอกาสที่คุณจะถูกยึดทรัพย์นั้น มีเท่ากันกับตัวผู้กู้ร่วมรายอื่นๆ ซึ่งเจ้าหนี้จะเลือกไปยึกทรัพย์ผู้กู้ร่วมคนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปยึดทรัพย์ผู้กู้ร่วมคนแรก ถ้ามีการฟ้องคดีและคุณไม่ต่อสู้คดีเพื่อหาโอกาสเจรจากับเจ้าหนี้หรือบีบให้เจ้าหนี้ยอมคุณ และคุณมีทรัพย์สินมากกว่าผู้กู้รายแรกด้วย รับรองได้ล้านเปอร์เซ็น พวกทนายธนาคารเจ้าหนี้จะมายึกทรัพย์ก่อนแน่นอน
คุณจะทำอะไรก็ควรหาทางเตียมดำเนินการก่อนแต่เนิ่นๆ มิฉะนั้นโดยยึดทรัพย์แน่นอน ดังคำโบราณที่ว่า ” อยากเป็นหนี้ ให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้า ให้เป็นนายประกัน”
การกู้ร่วมหากมีข้อตกลงว่ายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้ เมื่อผู้กู้ร่วมคนหนึ่งตายกองมรดกต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้แต่ไม่เกินทรัพย์มรดก
คู่สมรสที่ไม่ได้กู้ร่วมไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสถือเป็นสินสมรส ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันขออย่าได้คิดเรื่องข้อดีข้อเสีย หากตกลงใช้ชีวิตร่วมกันแล้วควรคิดว่าจะผ่อนชำระหนี้อย่างไรเพื่อไม่ให้ผิดนัดจะดีกว่า
กฏหมายผู้กู้ร่วมมีดังนี้
มาตรา ๒๙๐ ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับแต่เพียงเป็นส่วนเท่าๆกัน
มาตรา ๒๙๑ ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว(กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน)ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง
มาตรา ๒๙๒ การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ ด้วยวิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่ การใดๆอันพึงกระทำแทนชำระหนี้วางทรัพย์สินแทนชำระหนี้และหักกลบลบหนี้ด้วย
ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องอย่างไร ลูกหนี้คนอื่นๆจะเอาสิทธิอันนั้นไปใช้หักกลบลบหนี้หาได้ไม่
มาตรา ๒๙๓ การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดให้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒๙๔ การที่เจ้าหนี้ผิดนัดต่อลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้นย่อมได้เป็นคุณประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ ด้วย
มาตรา ๒๙๕ ข้อความจริงอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา ๒๙๒ ถึง มาตรา ๒๙๔ นั้นเมื่อเป็นเรื่องเท้าถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับ สภาพแห่งหนี้นั้นเอง
ความที่ว่ามานี้เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้คำบอกกล่าวการผิดนัดการที่หยิบยกอ้างความผิด การชำระหนี้ อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งกำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลงและการที่สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืน กันไปกับหนี้สิน
มาตรา ๒๙๖ ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ท่านว่าต่างคน ต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าส่วนที่ลูกหนี้ร่วมกันคนใดคนหนึ่งจะพึงชำระนั้น เป็นอันจะเรียก เอาจากคนนั้นไม่ได้ไซร้ ยังขาดจำนวนอยู่เท่าไร ลูกหนี้คนอื่นๆ ซึ่งจำต้องออกส่วนด้วยนั้นก็ต้องรับใช้ แต่ถ้าลูกหนี้ร่วมกันคนใด เจ้าหนี้ได้ปลดให้หลุดพ้นจากหนี้อันร่วมกันนั้นแล้ว ส่วนที่ลูกหนี้ คนนั้นจะพึงต้องชำระหนี้ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป
มาตรา ๒๙๗ ถ้าในสัญญาอันหนึ่งอันใดมีบุคคลหลายคนร่วมกันผูกพันตนในอันจะกระทำการชำระหนี้ไซร้ หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องรับผิดเช่นอย่างเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าเป็นการอันจะแบ่งกันชำระหนี้ได้
มาตรา ๒๙๘ ถ้าบุคคลหลายคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดย ทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ไซร้ แม้ถึงว่าลูกหนี้ จำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือเจ้าหนี้ร่วมกัน) ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่คนใดคนหนึ่งก็ได้ตามแต่จะเลือกความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ แม้ทั้งที่เจ้าหนี้คนหนึ่งจะได้ยื่นฟ้องเรียกชำระหนี้ไว้แล้ว
มาตรา ๒๙๙ การที่เจ้าหนี้ร่วมกันคนหนึ่งผิดนัดนั้นย่อมเป็นโทษแก่เจ้าหนี้คนอื่นๆด้วย
ถ้าสิทธิเรียกร้องและหนี้สินนั้นเป็นอันเกลื่อนกลืนกันไปในเจ้าหนี้ร่วมกันคนหนึ่งสิทธิของเจ้าหนี้คนอื่น ๆ อันมีต่อลูกหนี้ก็ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป
นอกจากนี้ท่านให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา ๒๙๒, มาตรา ๒๙๓ และ มาตรา ๒๙๕ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม กล่าวโดยเฉพาะก็คือแม้เจ้าหนี้ร่วมกันคนหนึ่งจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่บุคคลอื่นไป ก็หากระทบกระทั่ง ถึงสิทธิของเจ้าหนี้คนอื่นๆด้วยไม่
มาตรา ๓๐๐ ในระหว่างเจ้าหนี้ร่วมกันนั้น ท่านว่าต่างคนชอบที่จะได้รับชำระหนี้เป็นส่วนเท่าๆกัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๓๐๑ ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน
มาตรา ๓๐๒ ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระมิได้และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกันไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์แก่บุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดด้วยกันและเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น อนึ่ง เจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกให้ลูกหนี้วางทรัพย์ที่เป็นหนี้นั้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้หมดทุกคนด้วยกันก็ได้หรือถ้าทรัพย์นั้นไม่ควรแก่การจะวางไว้ ก็ให้ส่งแก่ผู้พิทักษ์ทรัพย์ซึ่งศาลจะได้ตั้งแต่งขึ้น