ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับทรัพย์สินรอการขาย

ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับทรัพย์สินรอการขาย

ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับทรัพย์สินรอการขาย

สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับทรัพย์สินรอการขายนั้น คือ การวางแผนการใช้จ่ายให้ดี โดยการประมาณเรื่องรายรับที่มีอยู่ และค่าใช้จ่ายที่จะตามมา ว่ามีความสมดุลกันหรือไม่ ลำบากเกินไปไหม
เนื่องจากการซื้อบ้านเป็นค่าใช้จ่ายในระยะยาวเลยก็ว่าได้้ ที่เริ่มตั้งแต่การเตรียมค่าใช้จ่ายก่อนซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง หรือแม้แต่ค่าผ่อนบ้าน ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงก่อนซื้อบ้านขายทอดตลาดมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
ค่าใช้จ่ายก่อนซื้อ
ค่าใช้จ่ายก่อนที่จะซื้อบ้านขายทอดตลาด จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการซื้อบ้านจากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร หรือสำนักงานที่ดิน โดยแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ต้องจ่ายให้กับธนาคาร
ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร บางธนาคารหากยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารนั้นๆ ก็จะมีโปรโมชันส่วนลดค่าประเมินราคาให้
ค่าอาการแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท (ในกรณีที่กู้เงินธนาคาร)
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย
ส่วนที่ต้องจ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน
ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของราคาซื้อขาย
ค่าโอน 2% ของราคาประเมินที่ดิน
ค่าจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (ในกรณีที่จ่ายสด ไม่ต้องเสียค่าจดจำนอง)
ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ (ซึ่งหากซื้อบ้านรอการขายกับธนาคาร ธนาคารบางแห่งอาจเสนอโปรโมชันพิเศษในการออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้)
การทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ในส่วนของการทำสัญญา จะต้องมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยในการซื้อขาย ซึ่งตามกฎหมายนั้นการซื้อขายบ้านจะต้องทำเป็นตัวหนังสือสัญญา โดยมีรายละเอียดสำคัญระบุไว้อย่างชัดเจน ได้แก่
ข้อมูลวันเวลาที่มีการทำสัญญา กำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ระยะเวลาที่สัญญามีผล รวมถึงวันที่มีการโอนกรรมสิทธิ์อย่างชัดเจน
รายละเอียดของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีระบุข้อมูลของคู่สัญญาชัดเจน เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ และอายุ เป็นต้น รวมถึงช่องที่ให้ลงชื่อของคู่สัญญาและพยานในส่วนท้ายของสัญญา เพื่อยืนยันว่าได้มีการรับรู้ข้อมูลในสัญญานี้
รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อ มีการระบุเลขโฉนดที่ดิน ที่ตั้ง ขนาดและพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งราคาขาย
รายละเอียดการจดทะเบียนและโอนกรรมสิทธิ์ ควรมีการระบุค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย และค่าจดจำนอง เป็นต้น รวมถึงกำหนดวันที่จะส่งมอบที่ดิน และวันโอนกรรมสิทธิ์
รายละเอียดเงื่อนไขและความผิดในกรณีที่ผิดสัญญา ด้วยการระบุเงื่อนไขและความรับผิดชอบของฝ่ายที่ผิดสัญญา เพื่อความหนักแน่นในการบังคับใช้สัญญาต่อไป
รายละเอียดเงื่อนไขอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากขั้นตอนการซื้อ-ขาย แต่สามารถส่งผลต่อกระบวนการซื้อ-ขายได้ เช่น ความล่าช้าในการซื้อขาย เป็นต้น
ให้ความสำคัญกับการตรวจรับบ้าน
โดยปกติธนาคารกสิกรไทยจะขายบ้านมือสองมีคุณภาพตามสภาพเดิม แต่สำหรับใครที่ต้องการตรวจรับบ้านก่อนการเซ็นรับโอน เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย หรือประเมินค่าใช้จ่ายในการรีโนเวท สามารถพาผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อนสนิทมาช่วยกันดูอีกรอบ สามารถตรวจตามขั้นตอนที่แนะนำ ดังนี้
เริ่มตรวจจากนอกบ้าน ให้เน้นตั้งแต่ประตูรั้ว ระบบสระน้ำ ที่จอดรถ รวมทั้งการระบายน้ำ ว่า สามารถระบายจากในบ้านออกไปยังนอกบ้านได้ดีหรือไม่
โครงสร้างของบ้าน ได้แก่ หลังคา เสาบ้าน ผนังบ้าน เพดานบ้านว่ามีรอยแตกแยกตรงไหนบ้าง
ทางเดินภายในบ้าน และช่องเปิดระบายอากาศ ตรวจสอบทั้งบันได ประตู หน้าต่างว่ามีจุดทรุดตรงไหน หรือพบร่องรอยความผิดปกติตรงไหนบ้าง
งานสุขาภิบาล การตรวจสุขภัณฑ์ ตรวจสอบระบบน้ำประปา
งานระบบไฟฟ้า วิธีการเดินระบบไฟ ติดตั้งเต้าเสียบ หรือแม้แต่ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มีแถมให้
จากที่ได้รู้กันแล้วว่า NPA คือ สินทรัพย์รอการขาย หรือบ้านขายทอดตลาด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อยากมีบ้าน แต่ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายสูง ประหยัดกว่าการซื้อบ้านมือหนึ่ง หรือการซื้อบ้านมือสองทั่วไปที่ประกาศขายกันเอง แล้วยังสามารถเลือกทำเลที่สนใจ ตามงบประมาณได้ ทั้งนี้ ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเซ็นรับโอน ให้ตรวจสภาพบ้านให้ละเอียดอีกครั้ง

 

 

 

Similar Posts