ประเภทการจดทะเบียนจำนอง

ประเภทการจดทะเบียนจำนอง

จํานองหมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จํานองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เป็นประกันการชําระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจํานอง (ป.พ.พ.มาตรา 702)

 

ประเภทการจดทะเบียนจำนองมีดังนี้
ประเภทการจดทะเบียนมีใช้ทั้ง “จํานอง” และ “ จํานองเป็นประกัน” ไม่ว่าจะใช้อย่างไรมี ความหมายอย่างเดียวกัน แต่สําหรับธนาคารและสหกรณ์หรือส่วนราชการ เป็นผู้รับจํานอง ได้ปฏิบัติเป็น ประเพณีว่า ใช้ประเภท “จํานองเป็นประกัน” นอกนั้นใช้ประเภท “จํานอง”

 

1.จํานองหมายถึง การจดทะเบียนจํานองที่ดินทั้งแปลงหรือสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังหรือที่ดินทั้งแปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนผู้ที่เป็นเจ้าของทุกคนนั้น จํานองพร้อมกัน

 

2.จํานองเฉพาะส่วนหมายถึง การจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่มีเจ้าของรวมกันหลายคนโดยผู้เป็น เจ้าของคนหนึ่งหรือหลายคนไม่ใช่เจ้าของทั้งหมด จํานองเฉพาะส่วนของตน ส่วนของผู้เป็นเจ้าของคนอื่น ไม่ได้จํานองด้วยจํานองเฉพาะส่วน ผู้จํานองสามารถจํานองได้โดยไม่ต้องให้เจ้าของร่วมคนอื่นที่ไม่ได้จํานองด้วย ยินยอมหรือให้ถ้อยคําแต่อย่างใด

 

3.จํานองเพิ่มหลักทรัพย์หมายถึง การจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ซึ่งได้จดทะเบียน จํานองอสังหาริมทรัพย์อื่นเป็นประกันไว้แล้ว แต่ผู้รับจํานองเห็นว่าทรัพย์สินที่จํานองไว้เดิมราคาไม่คุ้มกับ หนี้ที่จํานองหรือด้วยเหตุผลอื่น จึงให้นําทรัพย์สินอื่นมาจํานองเพิ่มเพื่อให้คุ้มกับจํานวนหนี้ที่จํานองเป็น ประกัน โดยให้ถือจํานวนเงินที่จํานองและเงื่อนไขข้อตกลงอื่นตามสัญญาจํานองเดิม

 

การจํานองเพิ่มหลักทรัพย์ เจ้าของทรัพย์สินที่จํานองเพิ่มหลักทรัพย์จะเป็นคนเดียวกับเจ้าของ ทรัพย์สินที่จํานองเดิมหรือคนละคนกันก็ได้ นอกจากนี้อสังหาริมทรัพย์ที่จํานองไว้เดิมกับอสังหาริมทรัพย์ที่ นํามาจํานองเพิ่มหลักทรัพย์จะเป็นชนิดเดียวกันหรือคนละชนิดก็ได้ เช่น เดิมจํานองที่ดินมีโฉนดไว้ ต่อมา นําสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์มาจํานองเพิ่มหลักทรัพย์ก็ทําได้ แต่ต้องจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจในการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ กล่าวคือ เจ้าของ ทรัพย์สินต่างนําทรัพย์สินของตนมาประกันหนี้ร่วมกันในมูลหนี้รายเดียวกัน ผลของการจํานองเพิ่ม หลักทรัพย์ในทางด้านทางกฎหมายจึงเท่ากับเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และผลทางทะเบียนที่ดินเท่ากับจํานอง ร่วมกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การจํานองเพิ่มหลักทรัพย์นั้น ทุนทรัพย์ที่จํานองไม่เพิ่มแต่หลักประกันเพิ่ม

 

4.ไถ่ถอนจากจํานองหมายถึง กรณีที่ได้ชําระหนี้ที่จํานองเป็นประกันโดยสิ้นเชิงแล้ว การจํานอง จึงระงับสิ้นไปโดยผลของกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนก็สามารถใช้บังคับในระหว่างกันเองได้ แต่ถ้าจะให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

 

5.แบ่งไถ่ถอนจากจํานองหมายถึง กรณีจํานองที่ดินเป็นประกันหนี้ไว้รวมกันตั้งแต่ 2 แปลงขึ้น ไป หรือจํานองที่ดินไว้แปลงเดียว ต่อมามีการจํานองเพิ่มหลักทรัพย์หรือมีการแบ่งแยกที่ดินนั้นออกไปเป็น หลายแปลง โดยที่ดินแปลงแยกและแปลงคงเหลือยังมีการจํานองครอบติดอยู่ทั้งหมด หรือมีการจํานอง ครอบติดอยู่ตั้งแต่ 2 แปลงขึ้นไป ต่อมาได้มีการชําระหนี้อันจํานองเป็นประกันบางส่วน และผู้รับจํานอง ยินยอมให้ที่ดินบางแปลงพ้นจากการจํานองไป ส่วนที่ดินที่เหลือยังคงจํานองเป็นประกันหนี้ที่เหลืออยู่ การจดทะเบียนในกรณีเช่นนี้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับจํานองจะทําหลักฐานเป็นหนังสือให้ผู้มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนมาขอจดทะเบียนฝ่ายเดียว ตาม มาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่ได้

 

6.ไถ่ถอนจากจํานองบางรายหมายถึง กรณีที่มีการจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็น ประกันหนี้หลายราย แต่การจํานองแต่ละรายนั้นได้จํานองไว้ในลําดับเดียวกัน หากลูกหนี้ได้ชําระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ผู้รับจํานองรายใดรายหนึ่งเสร็จสิ้นแล้วย่อมทําให้การจํานองในส่วนที่เป็นประกันหนี้รายนั้นระงับสิ้น ไปด้วย จึงเท่ากับว่าเป็นการไถ่ถอนจากจํานองบางราย ส่วนการจํานองรายอื่นที่เหลือยังคงมีอยู่ตามเดิม (การที่ลูกหนี้ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายหนึ่งรายใด เป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้รายนั้น ๆ เท่านั้น ไม่มีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้รายอื่น ในการจดทะเบียนไถ่ถอนจากจํานองบางรายจึงไม่จําเป็นต้องให้ผู้รับจํานองรายอื่น ๆ มาให้คํายินยอมหรือตกลงด้วยแต่อย่างใด)

 

7.ขึ้นเงินจากจํานองหมายถึง กรณีที่มีการจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ ไว้แล้วจํานวนหนึ่ง ต่อมาคู่กรณีตกลงเพิ่มจํานวนเงินที่จํานองเป้นประกันให้สูงขึ้นจากเดิม จึงมาจดทะเบียน เพิ่มวงเงินที่จํานอง โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงเช่นเดียวกับสัญญาจํานองเดิม ทั้งเป็นมูลหนี้เดียวกันกับ สัญญาจํานองเดิม (หากหนี้ต่างรายกันขึ้นเงินจากจํานองไม่ได้ จะต้องจํานองอีกลําดับหนึ่ง) ในการขึ้นเงินจากจํานอง หากมีการคิดดอกเบี้ยในวงเงินที่เพิ่มขึ้นต่างไปจากสัญญาจํานองเดิมก็ทําได้ การขึ้นเงินจากจํานองจะขึ้นกี่ครั้งก็ได้ โดยระบุจํานวนครั้งต่อท้ายประเภท เช่น “ ขึ้นเงินจาก จํานองครั้งที่หนึ่ง” เป็นต้น

 

8.ผ่อนต้นเงินจากจํานองหมายถึง กรณีมีการจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ไว้แล้ว จํานวนหนึ่ง ต่อมาได้มีการชําระหนี้ที่จํานองเป็นประกันบางส่วน หนี้ส่วนที่เหลือยังคงมีการจํานองเป็น ประกันอยู่ต่อไปตามเดิม และคู่กรณีตกลงลดจํานวนเงินที่จํานองเป็นประกันไว้เดิมลง จึงมาจดทะเบียน ผ่อนต้นเงินจากจํานอง การผ่อนต้นเงินจากจํานองจะมีการผ่อนต้นสักกี่ครั้งก็ได้โดยระบุจํานวนครั้งต่อท้ายประเภท เช่น “ผ่อนต้นเงินจากจํานองครั้งที่หนึ่ง” เป็นต้น

 

9.ลดเงินจากจํานองหมายถึง กรณีได้จดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์ไว้แล้วต่อมาคู่กรณีตกลง ลดวงเงินจํานองให้ต่ำลงกว่าเดิม ส่วนข้อตกลงอื่นเป็นไปตามเดิม

 

10.ปลอดจํานองหมายถึง กรณีมีการจํานองที่ดินไว้รวมกันตั้งแต่ 2 แปลงขึ้นไปหรือจํานองที่ดินไว้แปลงเดียว ต่อมามีการจํานองเพิ่มหลักทรัพย์อันมีผลให้เป็นการจํานองที่ดินรวมหลายแปลง หรือเดิม จํานองที่ดินไว้แปลงเดียว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นหลายแปลงโดยที่ดินแปลงแยกและแปลง คงเหลือยังมีการจํานองครอบติดอยู่ทั้งหมด หรือมีการจํานองครอบติดอยู่ตั้งแต่ 2 แปลงขึ้นไป ต่อมา คู่กรณีตกลงกันให้ที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งหรือหลายแปลง (แต่ไม่ทั้งหมด) ที่มีการจํานองครอบติดอยู่ พ้นจากการจํานองโดยไม่ลดจํานวนเงินที่จํานองเป็นประกัน ส่วนที่ดินแปลงที่เหลือยังคงมีการจํานองครอบติด อยู่ตามเดิมในวงเงินเดิม หรือกรณีที่มีการจํานองที่ดินไว้แปลงเดียว ต่อมามีการแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลง ในขณะจดทะเบียนแบ่งแยก คู่กรณีตกลงให้ที่ดินบางแปลงที่แยกออกไปปลอดจํานอง บางแปลงครอบ จํานองก็ทําได้เช่นเดียวกัน

 

11.โอนชําระหนี้จํานองหมายถึง กรณีได้จดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ ไว้แล้ว ต่อมาคู่กรณีตกลงกันให้โอนอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองให้แก่ผู้รับจํานองเพื่อเป็นการชําระหนี้จํานอง เป็นประกัน ซึ่งมีผลเท่ากับการไถ่ถอนจากจํานอง แล้วขายให้ผู้รับจํานอง ในการโอนชําระหนี้จํานอง คู่กรณีอาจตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่โอนน้อยหรือสูงกว่าจํานวนเงินที่ จํานอง ถ้าคู่กรณีตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่โอนสูงกว่าจํานวนเงินที่จํานอง ผู้รับจํานองอาจชําระเงินเพิ่มให้แก่ผู้โอนก็ได้ ถ้าคู่กรณีตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่โอนน้อยกว่าจํานวนเงินที่จํานองหนี้ส่วนที่เหลือจะเป็นหนี้ที่ ไม่มีประกัน

 

12.หลุดเป็นสิทธิจากจํานองหมายถึง กรณีที่จดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว ต่อมา ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ที่จํานองเป็นประกัน ผู้รับจํานองจึงฟ้องศาลบังคับจํานองและเรียกเอาทรัพย์ที่จํานองหลุด เป็นสิทธิ โดยพิสูจน์ต่อศาลตามเงื่อนไขที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 729 บัญญัติไว้ จนศาล ได้มีคําสั่งหรือคําพิพากษาให้ทรัพย์ที่จํานองหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจํานอง ดังนั้น การจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิจากจํานองจะต้องมีคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลมาแสดง แต่ไม่ใช่คําพิพากษาตามยอมที่คู่ความตกลง กันเองว่าให้เอาทรัพย์ที่จํานองหลุดเป็นสิทธิโดยไม่ได้พิสูจนต่อศาลตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด การที่มีคําพิพากษาตามยอมเช่นนี้ น่าเป็นการโอนชําระหนี้จํานอง

 

13.โอนสิทธิการรับจํานองหมายถึง กรณีที่อสังหาริมทรัพย์ได้จดทะเบียนจํานองไว้แล้ว ต่อมา ผู้รับจํานองได้โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ที่จํานองเป็นประกันให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งมีผลทําให้สิทธิการรับจํานอง ที่ได้จํานองเพื่อประกันหนี้ที่โอน ตกไปได้แก่ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 (การที่ สิทธิรับจํานองตกไปยังผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง เป็นการตกไปตามผลของกฎหมาย ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียน แต่ไม่จดทะเบียน จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 746)

 

14.ระงับจํานอง(ปลดจํานอง)หมายถึง การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ไว้ แล้ว ต่อมาผู้รับจํานองตกลงปลดจํานอง กล่าวคือให้อสังหาริมทรัพย์ที่จํานองไว้ทั้งหมดพ้นจากการจํานอง ไปโดยยังไม่มีการชําระหนี้ที่จํานองเป็นประกัน หนี้ที่จํานองเป็นประกันยังคงมีอยู่ในลักษณะเป็นหนี้ ธรรมดาที่ไม่มีประกัน การปลดจํานองจึงทําให้การจํานองระงับสิ้นไปทั้งหมด

 

15.ระงับจํานอง(ศาลขายบังคับจํานอง)หมายถึง กรณีจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกัน หนี้ไว้แล้ว ต่อมาผู้รับจํานองฟ้องบังคับจํานองหรือถอนจํานอง จนศาลได้สั่งให้ขายทอดตลาด อสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจํานองตามคําสั่งศาลอันเนื่องมาแต่การบังคับ จํานองหรือถอนจํานอง การจํานองย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (5) ในการจดทะเบียนให้แก่ ผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของศาล เช่นนี้ เนื่องจากเมื่อศาลขายทอดตลาดการจํานอง ย่อมระงับสิ้นไปโดยผลของกฎหมายแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าผู้ที่ซื้อได้จะเป็นผู้รับจํานองหรือเป็นบุคคลอื่นก็ตาม ผู้ซื้อย่อมได้อสังหาริมทรัพย์นั้นไปโดยไม่มีการจํานองติดไปด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องจดทะเบียนให้ จํานองระงับสิ้นไปเสียก่อน โดยจดทะเบียนประเภทระงับจํานอง (ศาลขายบังคับจํานอง) แล้วจดทะเบียน ขายตามคําสั่งศาลให้แก่ผู้ซื้อได้ต่อไป

 

16.ระงับจํานอง(หนี้เกลื่อนกลืนกัน)หมายถึง กรณีมีการจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ไว้แล้ว ต่อมาอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองได้ตกมาเป็นของผู้รับจํานอง ในลักษณะลูกหนี้เจ้าหนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน หนี้ย่อมเกลื่อนกลืนกัน การจํานองจึงระงับสิ้นไป เนื่องจากการที่หนี้ระงับด้วยการเกลื่อนกลืนกันเช่นนี้ เป็นเรื่องสิทธิและความรับผิดในหนี้ตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นในการจดทะเบียนประเภทนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องจดทะเบียนโอนเพื่อให้ปรากฏชื่อผู้รับจํานองเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นเสียก่อนแล้วจึงจดทะเบียนระงับจํานอง (หนี้เกลื่อน กลืนกัน)

 

17.แก้ไขหนี้อันจํานองเป็นประกันหมายถึง การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการ จํานองที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสิ่งที่มิใช่สาระสําคัญ เช่น แก้ไขอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี หรือเดิมจํานองเป็นประกันหนี้ของนายก. และนายข. ต่อมาแก้ไขโดยเลิกประกันหนี้ของ นายก. คงประกันหนี้ของนายข. เพียงผู้เดียว หรือเดิม นายก. และนายข. จํานองที่ดินเพื่อประกันหนี้ที่นาย ก. และนาย ข.กู้ร่วมกัน ต่อมาตกลงกันให้ที่ดินส่วนของ ก. พ้นจากการจํานองส่วนที่ดินของนาย ข. ยังคง จํานองอยู่ตามเดิมในวงเงินจํานองแล้วแต่จะตกลงกัน (การแก้ไขหนี้อันจํานองเป็นประกันโดยเพิ่มตัวลูกหนี้ ทําไม่ได้)

 

18.แก้ไขเปลี่ยนแปลงจํานอง(แปลงหนี้ใหม่)หมายถึง กรณีได้จดทะเบียนจํานองเป็นประกันหนี้ ไว้แล้ว ต่อมาคู่กรณีขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงจํานองในสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่งหนี้ เช่น เปลี่ยนตัวลูกหนี้อัน เป็นการแปลงหนี้ใหม่

 

19.จํานองลําดับที่สองหรือลําดับที่สามฯลฯหมายถึง กรณีเจ้าของได้จดทะเบียนจํานอง อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลหนึ่งแล้วยังมิได้มีการไถ่ถอน ในระหว่างที่การจํานองยังคงมีอยู่เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์นั้นขอจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์เดียวกันนั้นแก่ผู้รับจํานองเดิมอีกหรือจํานองแก่ บุคคลอีกคนหนึ่งก็ยอมทําได้ โดยดําเนินการเช่นเดียวกับการจดทะเบียนจํานองเว้นแต่ให้ระบุคําว่าลําดับที่สอง หรือลําดับที่สาม ฯลฯ ตามลําดับที่มีการจดทะเบียนต่อท้ายคําว่าจํานองในสัญญาและสารบัญจดทะเบียน การจํานองลําดับที่สอง กรณีที่เป็นผู้รับจํานองคนเดิม ปกติจะเป็นเรื่องจํานองเป็นประกันหนี้ ต่างรายกันหรือเป็นหนี้คนละชนิดกันกับหนี้จํานองเป็นประกันไว้เดิม ถ้าประกันหนี้อย่างเดียวกันแต่เป็น การเพิ่มวงเงิน ก็จะจดทะเบียนในประเภทขึ้นเงินจากจํานอง การจํานองจะมีกี่ลําดับก็ได้ และถ้ามีการไถ่ถอนจากจํานองจะไถ่ถอนลําดับใดก่อนหรือหลังก็ได้

 

20.โอนมรดกสิทธิการรับจํานองหมายถึง กรณีได้จดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว ต่อมาผู้รับจํานองถึงแก่กรรม ทายาทของผู้รับจํานองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว มาขอรับมรดกสิทธิการรับจํานอง

 

21.เปลี่ยนชื่อผู้รับจํานอง(ระหว่างกิจการที่เป็นนิติบุคคลเดียวกัน)หมายถึง กรณีขอจดทะเบียน เพื่อลบชื่อกิจการวิเทศธนกิจที่ต่อท้ายชื่อธนาคารผู้รับจํานองออกจากหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือกรณี ขอเปลี่ยนชื่อผู้รับจํานองระหว่างกิจการที่เป็นนิติบุคคลเดียวกัน

 

22.โอนตามกฎหมาย(ระหว่างจํานอง)หมายถึง กรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันให้แก่กองทุนในระหว่างจํานอง โดยมีกฎหมายบัญญัติให้ทรัพย์สิน ของผู้จํานองที่ใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้ ตกเป็นของกองทุนที่รับภาระการชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เช่น โอนตามกฎหมาย (ระหว่างจํานอง) (มาตรา 37/9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกร พ.ศ. 2542)

 

23.โอนตามข้อตกลง(โอนกิจการทั้งหมด)หรือโอนตามข้อตกลง(โอนกิจการบางส่วน)หมายถึง กรณีขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือขอจดทะเบียนโอนสิทธิการรับ จํานองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่สืบเนื่องมาจากที่ได้มีการโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่กันตาม แผนควบรวมกิจการหรือแผนการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (สถาบันการเงินต้อง เป็นสถาบันการเงินตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย

 

ที่มา:กรมที่ดิน

 

เรื่องที่น่าสนใจ