การวางทรัพย์ที่กรมบังคับคดี

การวางทรัพย์ที่กรมบังคับคดี

การวางทรัพย์ที่กรมบังคับคดี

สำนักงานวางทรัพย์(ที่รับวางทรัพย์)
  ในส่วนกลาง  สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร1-6
  ในส่วนกลาง  สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ
ทรัพย์อะไรที่วางได้
 1.เงินสด
 2.แคชเชียร์เช็คของธนาคารในส่วนกลาง (กทม.) สั่งจ่ายสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร1-6ในกรณีวางทรัพย์ในส่วนภูมิภาคให้สั่งจ่ายในนามสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนั้นๆ
 3.ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ และสามารถส่งมอบกันได้ตามกฏหมาย เช่น รถยนต์ ตู้เย็น สร้อยทอง แหวนเพชร
ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง
1.สภาพทรัพย์ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลายหรือบุบสลายได้ เช่น น้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่างๆ เพื่อความสวยงามในงานสมรส
2.มีค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร
3.ตึกแถว โรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่องจักร หรือทรัพย์ที่ขนย้ายไม่สะดวก หรือน้ำมันหรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น
วิธีปฏิบัติและหน้าที่ของผู้วางทรัพย์มีดังนี้
 1.เขียนคำร้องขอวางทรัพย์ตามแบบ ว.1 หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทนต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4
 2.แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้(มีรูปถ่าย)
 3.กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรตามกฏหมายกำหนด พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกไห้ (มีรูปถ่าย) ทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
 4.กรณีเป็นนิติบุคคลให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนรับรองไม่เกิน 1เดือนมาแสดงด้วย
 5.แนบแบบรับรองรายการทะเบียนราษฏร(ท.ร.14/1)หรือหนังสือรับรองฐานะนิติบุคคลของเจ้าหนี้รับรองไม่เกิน 1 เดือน
 6.หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้นๆมาแสดง เช่น
  ถ้าวางตามสัญญาประนืประนอมยอมความของศาล ให้มีคำพิพากษาตามยอมที่หน้าที่ศาลรับรอง
  ถ้าวางตามสัญญาเช่าให้มีสัญญาเช่า พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าและรับรองสำเนาถูกต้อง
  ถ้าวางตามสัญญาขายฝากให้มีสัญญาขายฝาก พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาชายฝากและรับรองสำเนาถูกต้อง
  ถ้าวางตามสัญญาเช่าซื้อให้มีสัญญาเช่าซื้อ  พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าซื้อและรับรองสำเนาถูกต้อง
 ♦ ถ้าวางตามสัญญาจำนอง(ไถ่ถอน)ให้มีสัญญาจำนอง พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาจำนองและรับรองสำเนาถูกต้อง
 7.เงินประกันค่าใช้จ่าย (ขั้นต่ำ) จำนวน 300 บาท
 8.ผู้วางทรัพย์ หรือผู้มอบอำนาจ ต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวนถึงที่มาแห่งมูลหนี้
 9.ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้ทราบโดยพลัน จึงจะมีผลสมบรูณ์ว่าเป็นการวางทรัพย์โดยชอบด้วยกฏหมายยกเว้น กรณีขายฝากตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 492
 วิธีปฏิบัติของเจ้าหนี้ผู้ประสงค์จะรับทรัพย์ที่วาง
 1.เขียนคำร้องขอรับทรัพย์หรือเงินตามแบบ ว.3
 2.แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้(มีรูปถ่าย)
 3.กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรตามที่ กฏหมายกำหนด พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกไห้ มีรูปถ่ายทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจแสดงต่อเจ้าพนักงาน
 4.กรณีเป็นนิติบุคคลให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1เดือนมาแสดงด้วย
 5.กรณีวางทรัพย์โดยมีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว
 ผลของการวางทรัพย์
 1.ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระ ไม่ตกเป็นผู้ผิอดนัดและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้หลังจากวันที่วางทรัพย์
 2.เจ้าหน้าที่มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับสิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางเป็นอันระงับไป
 การถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วาง
 ผู้วางทรัพย์อาจถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วางคืนได้เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้
 1.ผู้วางทรัพย์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิ์ที่จะถอนไว้
 2.เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับทรัพย์ที่วางนั้นแล้ว
 3.การวางทรัพย์ตามคำสั่งศาล
 4.ผู้วางทรัพย์อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีล้มละลาย
 5.หากบุคคลใดวางทรัพย์ชำระหนี้แทนลูกหนี้บุคคลนั้นจะถอนการวางทรัพย์ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอมเท่านั้น

 

เอกสารประกอบการรับวางทรัพย์ >>คลิก

 

รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามที่กรมบังคับคดี  โทรสายด่วนกรมบังคับคดี โทร.1111 ต่อ 79