เตรียมเกษียณให้สุขเกษมกับเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษเพื่อการเกษียณ10ปี
รายละเอียดเงินฝาก :
ผู้มีสิทธิเปิดบัญชี
-
บุคคลธรรมดาที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป (นับตามปี พ.ศ.)
-
ต้องมีการจองสิทธิ์ฝากเงินผ่านระบบการลงทะเบียนของธนาคาร
-
ต้องใช้สิทธิ์ฝากเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์
-
ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาเปิดรับฝาก
-
ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน – 30 มิถุนายน 2567
จำนวนเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ/สูงสุด
-
ฝากเงินได้ครั้งเดียว ฝากขั้นต่ำ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาททั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์
อัตราเบี้ยต่อปี
-
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.84 ต่อปี (เทียบเท่าเงินฝากประจำ ร้อยละ 3.34 ต่อปี)
ระยะเวลาฝาก
-
10 ปี
เงื่อนไขการจองสิทธิ์ฝากเงิน
-
ลงทะเบียนจองสิทธิ์ฝากเงิน ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2567 – 30 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบวงเงินรับฝาก ผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคาร 3 ช่องทาง ได้แก่
– เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th
– Line Official : gsbsociety
– Mobile Banking (MyMo)
เงื่อนไขหลัก
-
ผู้ฝากต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อ – สกุล ที่ตรงกับผู้ลงทะเบียนจองสิทธิ์ฝากเงิน และมีภาพหน้าจอแสดงผลการลงทะเบียนจองสิทธิ์ฝากเงินสำเร็จ
-
เปิดบัญชีได้คนละ 1 บัญชีเท่านั้น
-
ไม่รับฝากบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ บัญชีร่วม บัญชีคณะบุคคล และบัญชีนิติบุคคล
-
ต้องมีบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกไว้เป็นบัญชีคู่โอน
เงื่อนไขการฝาก
-
ฝากเงินได้ครั้งเดียวเท่านั้น
-
ฝากขั้นต่ำ 100,000 บาท
-
ฝากสูงสุดไม่เกินรายละ 1,000,000 บาท ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์ หากฝากเกินกว่า 1,000,000 บาท และ/หรือ เกินจำนวนเงินที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์ ธนาคารจะถอนเงินส่วนที่เกินคืนเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกที่เป็นบัญชีคู่โอน
-
เมื่อฝากครบ 10 ปี ธนาคารจะโอนยอดเงินฝากและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกที่เป็นบัญชีคู่โอนที่ผู้ฝากแจ้งไว้
เงื่อนไขการถอน
-
ถอนหรือปิดบัญชีก่อนครบระยะเวลาฝาก นับตั้งแต่วันที่ฝาก จำนวนเงินที่ถอนจะได้รับดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเผื่อเรียก ตามที่ธนาคารประกาศกำหนด ณ วันถอนในอัตราต่ำสุดประเภทเงินฝากเผื่อเรียกที่ผู้ฝากได้รับจากการจ่ายดอกเบี้ยทุกปี โดยหักจากยอดเงินฝาก
-
ในกรณีถอนเงินก่อนครบระยะเวลาฝาก ธนาคารออมสินจะเรียกดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
-
ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย