ต่างชาติกู้ซื้อบ้านไทยได้หรือไม่

land.pp .111

การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
  1.  นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท
  2.  ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่
  3.  ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
  4.  เงื่อนไขที่กำหนดไว้กฎกระทรวงนำเงินมาลงทุนในประเภทธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศระยะเวลาลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี และที่ดินต้องอยู่เขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยาเขตเทศบาลแนะนำให้ดูระเบียบกรมที่ดินเกี่ยวกับการได้ซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวกรณีมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวจำเป็นต้องซื้อบ้านพักอาศัย ระเบียบกรมที่ดินได้เปิดช่องทางให้คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวสามารถซื้อที่ดินพร้อมบ้านโดยคู่สมรสต่างด้าวต้องรับรองว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินและบ้านเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของคนไทย ดังนั้นเมื่อคนต่างชาติไม่สามารถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้จึงไม่สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้
ข้อจำกัดการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ
ปกติแล้วการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติจะมีการดำเนินการในลักษณะของบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยและนิติบุคคลสัญชาติไทยกรณีของบุคคลธรรมดาจะให้ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับตนเป็นผู้ถือครองแทนส่วนกรณีการถือครองโดยนิติบุคคลจะถือครองโดยการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทและมีชาวต่างชาติถือหุ้น 49% ส่วนอีก 51% ถือโดยคนสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลสัญชาติไทยและในนิติบุคคลดังกล่าวก็อาจมีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วยทำให้สัดส่วนจริงของชาวต่างชาติจะถือหุ้นเกินกว่า 49% รัฐบาลจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อแก้ปัญหานอมินีซึ่งจะอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิเช่าอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้สูงสุดเพียง 30 ปีเท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวส่งผลให้ชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของรวมถึงผู้ที่มีแผนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยพากันวิตกกังวลเป็นอันมากแต่อย่างไรก็ดีสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในประเทศไทย ตามพ.ร.บ.การที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 เอื้อประโยชน์ให้กับชาวต่างชาติไม่น้อย เพราะสามารถเช่าได้ไม่เกิน 50 ปีและสามารถตกลงต่อระยะเวลาเช่าได้อีกไม่เกิน 50 ปี ซึ่งเท่ากับว่าสามารถเช่าได้เกือบ 100 ปีอยู่แล้วเพียงแต่อาจต้องทบทวนเป็นกรณีไปก็คือ
  1. พ.ร.บ.การที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ. 2542 ควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกรรมประเภทอื่นด้วยหรือไม่
  2. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ให้ครอบคลุมถึงการเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยโดยควรกำหนดพื้นที่เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกันและกำหนดกรอบของจำนวนพื้นที่ให้เหมาะสมด้วยหรือไม่
  3. แก้ไขพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ให้การจัดสรรที่ดินครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ในการเช่าได้ด้วยเพราะปัจจุบันโครงการที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินไม่สามารถนำที่ดินไปให้เช่าได้ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติการแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการเช่าจะมีผลดีในด้านการควบคุมพื้นที่ควบคุมจำนวน
  4. แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.อาคารชุดให้คนต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ได้เกินกว่า 49% แต่อาจกำหนดเป็น 60% หรือ70% โดยกำหนดเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งการลงทุนของชาวต่างชาติหรือแหล่งท่องเที่ยวเช่นเดียวกันโดยจำกัดจำนวนที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชุดเพื่อมิให้เกิดการถือครองที่ดินโดยทางอ้อมการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติมีผลดีทั้งในด้านที่ทำให้นักลงทุนเกิดเชื่อมั่นส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดการจ้างแรงงานภายในประเทศ แต่ต้องกำหนดขอบเขตและมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
ข้อแนะนำการซื้ออสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติ

หากคุณเป็นชาวต่างชาติหรือมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติคุณคงสงสัยว่าชาวต่างชาติจะสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่การที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาตินั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดทางกฎหมายว่าด้วยเรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวต่างชาติในประเทศไทยก่อนกล่าวคือ โดยหลักกฎหมายไทยยังไม่อนญาตให้ชาวต่างชาติมาถือครองที่ดินในประเทศไทยยกเว้นเสียแต่ว่าจะมีเงินมาลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาทสามารถซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแต่เงื่อนไขนี้ไม่รวมถึงการซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมซึ่งชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือ
  • เป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  • เป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดดังนั้นหากคุณมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่มีปัญหาใดๆในการเป็นเจ้าของห้องชุดแต่ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่าเงินที่คุณจะนำมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเป็นเงินที่โอนมาจากธนาคารต่างประเทศมายังธนาคารในประเทศไทยซึ่งจะต้องมีใบเสร็จรับเงินและใบรับรองจากธนาคารเพื่อป้องกันการฟอกเงินนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ กฎหมายยังอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถซื้อหรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยการ
  • ซื้อโดยใช้ชื่อคู่สมรสที่เป็นคนไทยแต่จะถือว่ากรรมสิทธิ์จะเป็นของบุคคลสัญชาติไทย
  • การเช่าระยะยาวโดยมีสัญญาเช่าสูงสุดได้ 30 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีก 30 ปี ได้ถึงสองครั้ง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า
  • การจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลมีหุ้นส่วนเป็นคนไทยโดยชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% แล้วโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้เป็นชื่อของบริษัทซึ่งคุณสามารถอยู่อาศัยในฐานะกรรมการ แต่คุณจะไม่ใช่เจ้าของบริษัทจะเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ
เพียงเท่านี้คุณจะเห็นว่าการจะเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเลยหลายครั้งที่ได้ยินข่าวว่ามีชาวต่างชาติที่มีภรรยาหรือแฟนถูกหลอกให้ซื้อบ้านหรือที่ดินโดยใช้ชื่อแฟนหรือภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งถ้าหากเป็นการซื้อด้วยเงินสดแล้วหากมีปัญหาต้องเลิกกันและไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะทำให้ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิ์ในการเรียกร้ององกรรมสิทธิ์ใดๆซึ่งทางแก้ไขเฉพาะหน้าสำหรับชาวต่างชาติที่จำเป็นต้องใช้ชื่อภรรยาหรือแฟนในการถือครองกรรมสิทธิ์คือ ให้ชาวต่างชาติคนนั้นๆ ทำสัญญาเช่าระยะยาว เช่น ทำสัญญาเช่า 30 ปีกับบ้านหลังนั้นก็จะทำให้มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ในระยะยาวถึงแม้จะไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ก็ตามหากจะขายต่อก็จะขายยากเนื่องจากติดสัญญาเช่าระยะยาว
ที่มา:http://thaiaccandlaw.com

 

 

Similar Posts