จำนองสาระสําคัญ

จำนองสาระสําคัญ

 

จำนองสาระสําคัญ

 

 สัญญาจํานองเป็นการเอาทรัพย์สินมาประกันการชําระหนี้ในการจํานองจึงต้องมีหน้าที่จํานองเป็นประกัน ส่วนสัญญาจํานองเป็นการเอาทรัพย์สินมาเป็นประกันการชําระหนี้ที่จำนองเป็นประกันดังกล่าว การจํานองจึงประกอบด้วยหนี้ที่จํานองเป็นประกันนั้นถือว่าเป็นส่วนประธาน กับสัญญาจํานองอันถือว่าเป็นส่วนอุปกรณ์ดังนั้น การจํานองขึ้นอยู่กับหนี้ถ้าหนี้ระงับสิ้นไป การจํานองก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย

 

 ผู้รับจํานองมีสิทธิได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่จํานองก่อนเจ้าหนี้สามัญ ผู้รับจํานองบังคับชําระ จากทรัพย์สินที่จํานองได้ ไม่ว่าทรัพย์สินที่จํานองจะโอนไปใหแก่บุคคลใด การจํานองจึงเป็นทรัพย์สิทธิที่ตกติดไปกับตัวทรัพย์ที่จำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)

 

 ทรัพย์ที่จํานองได้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์บางอยางตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 703 แต่ทรัพย์ที่จดทะเบียนจํานองต่อเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ เท่านั้น (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71) ซึ่งได้แก่ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์ ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเกี่ยวกับที่ดินนั้นด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 139) ส่วนสังหาริมทรัพย์ต้อง ไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่อันตามที่กฎหมายกําหนดไว้

 

 ที่ดินที่จํานองได้ ได้แก่ ที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว อันได้แก่ มีโฉนดที่ดินและ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก., น.ส.3 ข. แบบหมายเลข 3 ถ้าออกก่อนใช้ประมวล กฎหมายที่ดินต้องแจ้ง ส.ค.1)

 

 ที่ดินที่มีหลักฐาน ส.ค.1 จํานองได้ แต่ในทางปฏิบัติพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ขอทราบและ แนะนําให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (หนังสือกรมที่ดิน ที่ 3124/2498 ลงวันที่ 12 เมษายน 2498เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ 3176/2498 ลงวันที่14 เมษายน 2498)

 

 ที่ดินที่มีใบจองยังจํานองไม่ได้ เพราะผู้เป็นเจ้าของเท่านั้นที่จํานองได้ ( ป.พ.พ. มาตรา 705)

 

 ที่ดินที่ห้ามโอน เช่น ห้ามโอนตามมาตรา 31 และ 58 ทวิแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือ มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของสามารถจํานองได้ เนื่องจากการจํานองเป็นการประกันการชําระหนี้มิใช่เป็นการโอน แต่กฎหมายดังกล่าวได้มีบัญญัติให้ที่ดินที่ ห้ามโอนไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีภายในกําหนดห้ามโอน ผู้รับจํานองจึงไม่อาจบังคับจํานองภายใน กําหนดห้ามโอน ต้องรอให้พ้นกําหนดห้ามโอนไปก่อนจึงบังคับจํานองได้

 

 ที่ดินที่จํานองได้ต้องขออนุญาต ได้แก่
(1) ที่ดินที่ได้รับ ตาม พ.ร.บ. จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517 จะจํานองได้ต้องได้รับ อนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดรูป ที่ดินกลาง (มาตรา 25 พ.ร.บ. จัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2517)
(2) ที่ดินที่ได้รับ ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 จะจํานองได้ต้อง ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย (มาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2517
 ผู้ที่จะจํานองได้ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่จํานองเท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา 705) และ ต้องเป็นเจ้าของในขณะจํานอง เพียงแต่มีสิทธิเป็นเจ้าของในภายหน้าจะจํานองไม่ได้ เช่น ในระหว่างเช่าซื้อไม่อาจเอาทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาจํานองได้ (คําพิพากษาฎีกาที่503/2504)

 

 บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นใด จะจํานองทรัพย์สินนั้นได้ภายใน บังคับเงื่อนไขเช่นนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 706) เช่น นาย ก.เป็นเจ้าของที่ดินที่มีโฉนดที่ดินได้จดทะเบียนให้ นาย ข. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน นาย ก. มีสิทธิจํานองที่ดินได้ แต่ต้องอยู่ภายในเงื่อนไขว่า นาย ข. ยังคงมีสิทธิเก็บกินอยู่ กรณีเช่นนี้ถ้ามีการบังคับจํานองขายทอดตลาด ผู้ที่ซื้อไปก็ต้องซื้อภายในเงื่อนไข คือสิทธิเก็บกิน ยังคงติดไปด้วย

 

 ผู้จํานองจะเป็นตัวลูกหนี้เองหรือคนอื่นก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 709)

 

 การจํานองต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ป.พ.พ. มาตรา 714) มิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 115)

 

 ตาม ป.พ.พ. ได้กําหนดข้อความที่จะลงในสัญญาจํานอง ดังนี้
(1) ต้องระบุทรัพย์สินที่จํานอง (มาตรา 704)
(2) ต้องระบุจํานวนเงินเป็นเรือนไทยเป็นจํานวนแน่ตรงตัว หรือจํานวนขั้นสูงสุดที่ได้เอา ทรัพย์สินจํานองนั้นตราไว้เป็นประกัน (มาตรา 708)
(3) มีข้อความบางอย่างที่กฎหมายห้ามตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ถึงกําหนดชําระ (มาตรา 711) ได้แก่
(ก) ถ้าไม่ชําระหนี้ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จํานอง
(ข) ให้จัดการแก่ทรัพย์สินที่จํานองเป็นประการอื่นอย่างใด นอกจากบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจํานอง
ข้อห้ามตามมาตรา 711 เป็นข้อห้ามมิให้ตกลงกันไว้ก่อนหนี้ถึงกําหนดชําระแต่ถ้าหนี้ถึง กําหนดชําระแล้วคู่กรณีย่อมตกลงกันได้ เช่น เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระแล้วผู้จํานองซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่มีเงินชําระ หนี้ให้แก่ผู้รับจํานองจึงตกลงโอนที่ดินที่จํานองไว้นั้นให้แก่ผู้รับจํานองเพื่อเป็นการชําระหนี้ย่อมทําได้ โดย จดทะเบียนในประเภทโอนชําระหนี้จํานอง เป็นต้น

 

ข้อตกลงทํานองว่า “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจํานวนเงิน ที่ค้างชําระ หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนที่ค้างชำระลูกหนี้ยอมใช้เงินที่ขาดจนครบ หรือยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นนอกจากที่จํานองนํามาบังคับชําระหนี้จนครบ” แม้ข้อตกลงนี้จะขัดต่อมาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. แต่มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอัน เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อตกลงดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้ (คําพิพากษา ฎีกาที่1313/2480 และ 168/2518)

 

 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 746 การชําระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆ สิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนก็ดีการระงับหนี้ อย่างใด ๆ ก็ดีการตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจํานองหรือหนี้อันจํานองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนําความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเมื่อมีคําขอร้องของผู้มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่าน ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกกรณีดังกล่าวกฎหมายไม่บังคับให้ต้องจดทะเบียนเพียงแต่ถ้าไม่ จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ ถ้าจะยกขึ้นต่อสู้ในระหว่างคู่กรณีกันเองย่อมทําได้ ไม่เป็นการต้องห้าม ดังนั้น การจดทะเบียนที่เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เช่น การจดทะเบียนประเภทไถ่ถอนจาก จํานอง แก้ไขหนี้อันจํานองเป็นประกัน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงจํานอง (แปลงหนี้ใหม่) จึงเป็นการจด ทะเบียนเพื่อยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเท่านั้น มิใช่เป็นแบบของนิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ต้องจด ทะเบียนดังเช่นการจํานองซึ่งถ้าไม่จดทะเบียนจะตกเป็นโมฆะ

 

ที่มา:กรมที่ดิน

เรื่องที่น่าสนใจ